Page 314 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 314

236

                   ตารางก็เป็นการถอดพันธะหน้าที่ของรัฐมาจากเอกสารที่มีค่าทางกฎหมาย คือ ก็มาจาก  หนึ่งคือ
                   General  Comments  สองคําวินิจฉัยคําร้องเรียนหรือ Complaint  สู่คณะกรรมการประจํา

                   สนธิสัญญา สาม  Country  Reports รายงานสถานการณ์สิทธิต่อ UN    และคณะกรรมการประจํา
                   สนธิสัญญา ซึ่งไม่ใช่แต่เฉพาะรายงานของประเทศไทย แล้วตีค่าออกมา ตีความออกมา มีผลมากใน
                   การผลักดันให้สู่การยอมรับ ถ้าจะทําคิดว่าภายในห้าปี อาจต้องมา simplify  และ prioritize ว่าอะไร
                   จําเป็นก่อนหลัง ปัญหาที่เกิดขึ้น ถ้าหากมีความจําเป็นก่อน ต้องมีการปรับแก้ได้ ตัวชี้วัด ต้องมีการ

                   ปรับแก้ ทบทวนตลอดเวลา จะทําเช่นนั้นหรือไม่

                         ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) -    คําว่า fulfill

                   หมายความว่าคนที่ขาดรัฐต้องหาให้ เพราะฉะนั้นใครที่ขาดหรือไม่ได้ รัฐมีหน้าที่ต้องจัดหาให้ สําหรับ
                   คนที่มีแล้วไม่ต้องรับ

                         คุณอุษา เลิศศรีสันทัด (มูลนิธิผู้หญิง) - ประเด็นสวัสดิการทางสังคมเห็นด้วย ถ้าไม่มีบ้านพัก
                   ผู้หญิง ผู้หญิงคงไม่เลือกที่จะหลุดออกมาจากสามีที่ทุบตี ซึ่งมีความเกี่ยวโยงกัน เพราะว่าพอออก

                   มาแล้วไม่มีที่ไป ลูกลําบาก โยงว่าถ้าผู้หญิงจะได้รับสิทธิความคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิต ถ้าไม่มี
                   สวัสดิการบ้านพักสําหรับผู้หญิง ผู้หญิงก็ออกมาไม่ได้ ถ้ามองถึงเรื่องการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม
                   ผู้หญิงหลายคนบอกว่าแม้จะมีกลไกตามกระบวนการมากมาย แต่พอถึงจุดหนึ่งผู้หญิงที่ทําร้ายสามีจน

                   เสียชีวิต เนื่องจากว่าโดนสามีทําร้ายมาโดยตลอด พอไปแจ้งตํารวจ ตํารวจไม่เคยสนใจ พอถึงวันหนึ่ง
                   สู้กลับ สามีเสียชีวิต ทนายบอกว่าให้รับสารภาพ ถามนักกฎหมายว่าประเด็นนี้ยุติธรรมหรือไม่ ตํารวจ
                   ตั้งข้อหาว่าเจตนาฆ่า ส่วนมากจะตั้งรุนแรงที่สุด ทุกอย่างเป็นกรอบทําให้ทนายทํางานง่ายที่สุด คือ รับ
                   สารภาพไปลดโทษกึ่งหนึ่งสิบห้าปี เหลือเจ็ดปี สิ่งนี้คือความยุติธรรมหรือเปล่า ซึ่งสิ่งนี้มันยังเป็นสิ่งที่

                   หลบซ่อนอยู่ เพราะว่าตํารวจ ทนายให้รับสารภาพไป อัยการก็สั่งฟูอง แต่ไม่มีกระบวนการที่มาสืบว่า
                   ผู้หญิงถูกทุบตีมาก่อน หรือบางกรณีเข้าข่ายของการต่อสู้ปูองกันตัวด้วยซ้ํา อย่างมากก็คือปูองกันตัว
                   ทําร้ายเกินกว่าเหตุ ลงโทษสาม สี่ปี น้อยมากที่ศาลจะยกฟูองหรือสั่งรอลงอาญา ตอนนี้มีอยู่หลายราย
                   ที่เจอแปดปี ซึ่งเป็นประเด็นที่หลบซ่อนอยู่ ถ้าไม่มีตัวชี้วัดโดยละเอียด โครงสร้างค่อนข้างสมบรูณ์แล้ว

                   แต่ในทางปฏิบัติ ในขั้นผลลัพธ์หรือการที่จะทําการส่งเสริมให้เป็นจริงนั้นอ่อนมาก
                         ในเรื่องเด็ก มี พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กมาหลายปี ในทางปฏิบัติก็ไม่ทั่วถึง มีกองทุนคุ้มครองเด็กปีละ
                   หกสิบเจ็ดล้านบาท ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกับกองทุนผู้หญิงจังหวัดละร้อยล้านบาท ดังนั้น แทบไม่ต้อง
                   ทําอะไร ถ้าแบ่งไปจังหวัดละหนึ่งล้านบาทก็ไม่พอ จังหวัดไหนกระตือรือร้นก็ทําไป จังหวัดไหน

                   เจ้าหน้าที่งานเยอะก็ไม่มีการทํางานเรื่องคุ้มครองเด็กเลย ในพื้นที่ห่างไกล เด็กก็เหมือนเดิม ถึงแม้จะมี
                   พ.ร.บ. เด็ก ถึงแม้จะมีโครงสร้าง ไม่ค่อยเห็นด้วยที่จะเอาแค่โครงสร้างก่อน หรือเอาเฉพาะหน้าก่อน
                   ทําอย่างไรที่ยิ่งต้องขุดในเรื่องที่มีการละเมิดอยู่ และหลบซ่อนอยู่ ให้ออกมาปรากฏ และให้เป็นตัวชี้วัด

                   ว่ามันพร่องอยู่ถึงแม้จะมี พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก แต่เด็กหลายส่วนก็ยังถูกทําร้ายอยู่ ยังไม่มีการส่งเสริมทํา
                   ให้เป็นจริงเลยในหลายเรื่อง สวัสดิการยังไม่เกิด ถึงแม้จะมีประชานิยมแต่ไม่มีการสร้างให้มีกลไกที่เอื้อ
                   ให้เกิดความทั่วถึง โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล ทําอย่างไรกลุ่มคนชายขอบจะเป็นคนที่บอกความ
                   ต้องการคืออะไร เช่น คนพิการบอกว่าต้องการทางเลื่อน คนชนเผ่าไปโรงพยาบาลก็เข้าไม่ถึง
                   เจ้าหน้าที่ดูถูก ก็เบื่อที่จะไปโรงพยาบาลเหล่านี้ ต้องไปเสียเงินอยู่อีก หลายคนนอนอยู่ที่บ้านเป็นโรค

                   รุนแรงก็นอนรอความตายไป ตรงนี้คิดว่าจะทําอย่างไรที่จะให้คนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลเป็นคนบอก

                   รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 1
   309   310   311   312   313   314   315   316   317   318   319