Page 313 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 313

235

                   อย่างเช่น ตัวชี้วัดที่สามารถจะผลักดันนโยบายของสตรีได้หรือไม่ ผลักดันคนพิการได้หรือไม่ หรือ
                   ตัวชี้วัดที่เป็นกรอบกลางๆ

                         จากการอ่านรายงานของ UN กล่าวว่าตัวชี้วัด มันเป็นตัวชี้วัดพื้นฐานที่ใช้สําหรับให้หน่วยงานที่
                   เกี่ยวข้องไปพัฒนาขึ้นอีกที นําไปปรับใช้กับหน่วยงานของตัวเอง ซึ่งหมายความว่า หน่วยงานในแต่ละ
                   แห่งที่จะต้องนําตัวชี้วัดไปปรับใช้ ตัวชี้วัดเรื่องสิทธิในการศึกษา มีแผนในเรื่องของการศึกษา ปูองกัน
                   การ drop  out สามารถเข้าสู่การศึกษาได้ระหว่างเด็กในชนบทและเด็กในเมือง เป็นเรื่องของ

                   process เป็นกระบวนการที่จะเกิดขึ้นระยะยาว หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาจจะเป็นสํานักงานการศึกษา
                   แห่งชาติ นําไปปรับว่ามีวิธีการอย่างไร ต้องแตกย่อยเป็นตัวชี้วัดของหน่วยงานของตนเองอีกครั้งหนึ่ง
                   เข้าใจว่าน่าจะเป็นตัวชี้วัดกลางๆ ที่หน่วยงานสามารถนําไปปรับใช้อีกทีหนึ่ง

                         โดยสรุปตัวชี้วัดที่พัฒนาขึ้นมาอาจจะเป็นเพียงแค่ค่ากลาง เป็นตัวรายงาน ส่วนตัวเปูาหมายที่
                   จะทําเป็น benchmark ที่หน่วยงานจะนําไปใช้เอง  ตัวชี้วัดนี้จะเป็นตัวชี้วัดกลาง กรอบ โครงของ
                   วิธีการ มิติความลึกกับความกว้างที่จะต้องช่วยพิจารณากัน
                         ขอพูดลงไปในเรื่องของสิทธิ พันธกรณีของรัฐ มีทั้งหน้าที่ในการเคารพ หน้าที่ในการปกปูอง
                   คุ้มครอง และหน้าที่ทําให้เกิดขึ้นจริง สวัสดิการต่างๆ ถือว่าเป็นสิทธิอย่างหนึ่ง เป็นกระบวนการที่ทํา

                   ให้เกิดขึ้นจริง สิทธิในการมีอาหาร  เป็นไปไม่ได้ที่จะปกปูองทุกๆ คนจากการไม่มีอาหาร ยากจน
                   แร้นแค้น แต่รัฐต้องมีมาตรการต่างๆ รัฐต้องมีกระบวนการเพื่อส่งเสริมให้บุคคลนั้นมีอาหาร ตรงนี้คือ
                   สิทธิ ถือว่าเป็นกระบวนการพันธกรณีก็คือการทําอย่างไร สิทธิในเรื่องการมีชีวิต สัมพันธ์ในเรื่องสิทธิ

                   ของยา การตายบนท้องถนน (road accident) คือ สิทธิในการมีชีวิต ถ้าตีความตามแนวที่ทางสากล
                   ยอมรับกัน

                         ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) -    ESCR  ถูกขยายอํานาจ

                   หน้าที่ของรัฐ บทบาทของรัฐจะต้องตอบสนองสิทธิขั้นพื้นฐานของคนในสังคมในประเทศนั้นๆ แม้แต่
                   จะเป็นคนต่างชาติ สิทธิขั้นพื้นฐานที่จะได้รับการคุ้มครอง สิทธิที่จะต้องมี รัฐต้องให้ จึงขยายไปว่า
                   ประชานิยม ค่อนข้างทับซ้อนว่าอะไรเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่รัฐพึงจะให้ อะไรเป็นสวัสดิการ และอะไร
                   เป็นประชานิยม ในแง่สวัสดิการพื้นฐานไม่ว่าจะใช้แนวพัฒนาแบบ needs  base  หรือ right  base

                   กระบวนทัศน์เปลี่ยนจากการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานแบบเดิมตามแนวการพัฒนากระแส
                   หลัก ถูกปรับมาเป็น rights-based  ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990  (พ.ศ. 2533)  เป็นต้นมา อย่างชัดเจนมากๆ
                   จากที่เคยมองว่าเป็นสวัสดิการ ก็เป็นสิทธิ ในฐานะที่ทํางานด้านสิทธิจะต้องปรับวิธีคิดของเราด้วยว่า
                   ความต้องการพื้นฐาน (basic needs) จปฐ. เป็น right base แล้วรัฐต้องให้ ฉะนั้น จะไม่มีใครตาย

                   เพราะอดอาหาร ไม่มีใครตายเพราะไม่มีหลังคาคุ้มศีรษะ รัฐต้องให้ ต้องรักกัน ต้องยอมรับในงานชิ้นนี้

                         อาจารย์วิชัย -  คําว่า Right  to  equality ไม่ใช่เป็นการทําให้ทุกคนเหมือนกันหมด คําว่า

                   Discrimination (การเลือกปฏิบัติ) ไม่ใช่ทําทุกอย่างเหมือนกัน แต่ทําให้ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน การ
                   ทําทางเดินลาดให้กับคนพิการ ทําให้คนพิการมีสิทธิเท่าเทียมกับคนเดินถนนได้ คนพิการต้องเดินได้
                   ถ้าถนนชันไม่สามารถเข็นรถเข็นได้ ฉะนั้นต้องมีมาตรการพิเศษ ไม่ใช่สวัสดิการ นั่นคือสิทธิที่จะให้เกิด
                   ความเท่าเทียมกัน กรณีผู้หญิงทําไมต้องกําหนด องค์ประกอบของคณะกรรมการต่างๆ จะต้องมี
                   gender นั่นเป็นสิทธิ แต่ตอนนี้ปรับเป็นเรื่อง rights-based  ในการพัฒนาของ UN  จะเห็นชัดใช้

                   rights  based  approach  ใน General  Comments  จะเขียนชัดเจนแยกย่อยออกมา สําหรับใน

                   รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 1
   308   309   310   311   312   313   314   315   316   317   318