Page 311 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 311

233

                   กรอบ หรือจะออกไปไหม เพื่อทําให้มัน SMART ดูในสิ่งที่มีอยู่ให้มากที่สุด การทําอย่างไรถึงจะทําให้
                   หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องรับรู้ เป็นเรื่องที่สําคัญมากพอๆ กับการที่มี indicators  ออกมา ซึ่งท้ายที่สุด

                   กลุ่มคนเปูาหมายนั้น ที่จะได้รับประโยชน์ ด้านสวัสดิการสังคมก็เป็นสิทธิอย่างหนึ่งเหมือนกัน จะ
                   สับสนกันเองระหว่างสิทธิในเรื่องชีวิต ทรัพย์สิน กับสิทธิในเรื่องสวัสดิการสังคม

                         คุณอุษา เลิศศรีสันทัด (มูลนิธิผู้หญิง) -  จากที่อาจารย์วิทิตเน้นในเรื่องโครงสร้าง ถ้ามองใน

                   เรื่องของผู้หญิง เรื่องของโครงสร้างกฎหมายหลายตัวพยายามแก้ปัญหาการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงไป
                   แล้ว อาจจะมีบางตัวที่ค้างอยู่บ้าง เช่น ได้แก้มาตรา 276  การข่มขืนภรรยา กฎหมายไม่มีการยกเว้น
                   แล้ว มาตรา 277 ยังค้างอยู่ คิดว่ากฎหมายไทยไม่มีมาตรฐานสองระดับ

                         ถ้ามองเรื่องกฎหมายผู้หญิงหรือสถานการณ์ของผู้หญิง ถ้าไปติดอยู่แค่โครงสร้าง ก็อาจจะไม่ได้
                   ตัวชี้วัดสถานการณ์ผู้หญิงที่จริงและเข้าถึงสถานการณ์จริง พันธะหน้าที่ของรัฐ ซึ่งประเทศไทยผ่าน
                   เกณฑ์ในเรื่องการเคารพและอีกหลายตัวที่กําลังที่จะแก้ไขอยู่ โดยเฉพาะ พ.ร.บ ส่งเสริมโอกาสและ
                   ความเสมอภาคระหว่างเพศ ซึ่งในนั้นจะคุ้มครองในการเลือกปฏิบัติ ก็คือ ถ้าเข้าสมัครงานระบุเพศ
                   ปัจจุบันยังกระทําได้อยู่ จริงๆ แล้วถ้าสามารถร้องเรียนส่งเรื่องเข้า กสม. ได้ ส่งเรื่องเข้าศาลปกครองก็

                   ได้ เพราะขัดกับรัฐธรรมนูญ เพราะเลือกเพศในการเข้าทํางาน ในทางปฏิบัติตอนนี้ยังทําอยู่ถ้าไม่มีใคร
                   ฟูองร้อง แต่ถ้ามีกฎหมายขึ้นมาก็เท่ากับว่าผิดกฎหมายเลย ในการลงประกาศรับสมัครงานระบุเพศ
                   เพศชายหรือเพศหญิงก็ตามถ้ามีกฎหมายถือว่าเลือกปฏิบัติถือว่าผิดตาม พ.ร.บ นั้น ซึ่งเข้าข่ายมี

                   รัฐธรรมนูญแต่ยังไม่ไปสู่การปฏิบัติ การปกปูองคุ้มครองถือว่าเรายังไปไม่ถึง
                         ถ้ามองการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง ต้องมีเกณฑ์ที่ลึกลงไปกว่านั้น ในสถานการณ์ในหลายๆ เรื่อง
                   เช่น การทุบตีภรรยา ถ้าวัดแค่ว่าจํานวนผู้หญิงที่ออกมาแจ้งความนั้นจะเห็นว่าน้อยมาก ตรงนั้นไม่
                   สามารถเป็นตัวชี้วัดได้ว่าคนที่มาร้องเรียนและได้รับการคุ้มครองอาจจะร้อยเปอร์เซนต์  ถ้าออกมา

                   เข้าถึงกระบวนการตาม พ.ร.บ คุ้มครองผู้ถูกกระทําในครอบครัว ซึ่งเป็น พ.ร.บ ใหม่ การมี พ.ร.บ
                   ออกมาทําให้เข้าถึงกระบวนการไกล่เกลี่ยค่อนข้างสูง แต่ว่าคนที่ถูกทุบตีแล้วออกมาร้องเรียนมีจํานวน
                   เท่าไหร่ ไม่มีข้อมูล
                         ตรงนี้เป็นเรื่องท้าทาย ว่าจะทําอย่างไร ที่จะต้องมีตัวชี้วัดในระดับที่จะส่งเสริมด้วย สถานการณ์

                   สิทธิของผู้หญิงเกิดการละเมิดสิทธิ เกิดขึ้นในบ้าน เกิดขึ้นในพื้นที่ส่วนตัวเยอะมาก เป็นประเด็นที่เกิด
                   กับเด็กผู้หญิง เป็นเรื่องการกําหนดตนเองในระดับบุคคล ในประเด็นของผู้หญิงจะข้ามเส้นอิทธิพล
                   เรื่องเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมไปแล้ว แต่ว่าทั้งหมดโยงกับสิทธิของการตัดสินใจของผู้หญิงในชีวิตซึ่ง
                   มีอยู่ในทุกๆ เรื่องที่ไม่สามารถทําได้ เช่น การอยากลงเลือกตั้ง ที่บ้านไม่เห็นด้วย ไม่มีใครสนับสนุนก็

                   ไม่ได้แล้ว  สิทธิกําหนดในเรื่องการตัดสินใจของผู้หญิงถูกจํากัดในเรื่องกรอบประเพณีบีบอยู่ ฉะนั้น
                   การตัดสินใจทุกๆ เรื่องของผู้หญิง จะหย่าก็ไม่ได้เพราะถูกควบคุมโดยกรอบคุณค่าต่างๆ จะทําอย่างไร
                   ให้มีตัวชี้วัดที่จะส่งเสริมให้ผู้หญิงสามารถที่จะมีสิทธิในการกําหนดตัดสินใจในตัวเองได้ ซึ่งจะต้อง

                   เกี่ยวข้องในเรื่องสังคม การจะเรียนต่อ ไม่เรียนต่อ ผู้หญิงในหลายพื้นที่ยังต้องออกจากโรงเรียน
                   กลางคัน หรือต้องให้เด็กผู้ชายได้เรียนก่อนในหลายพื้นที่มีอยู่ หรือบังคับให้ออกมาแต่งงานโดยเฉพาะ
                   ในพื้นที่มุสลิมก็ยังมีอยู่ ฉะนั้นผู้หญิงจะไม่ได้ตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง
                         ในเรื่องการทํางานก็ยังไม่สามารถเลือกงานที่ตัวเองอยากจะทําได้ เพราะยังมีการจํากัด ยังมี
                   การเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงอยู่ กีดกันต่อผู้หญิงอยู่ ก็เลยคิดว่าเหมือนเป็นอีกชั้นหนึ่ง ในเรื่องของสิทธิ

                   ผู้หญิงที่มีความละเอียดอ่อน มากขึ้น ในปัจจุบันนอกจากมีกฎหมายต่างๆ ในเรื่องกฎหมายการ

                   รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 1
   306   307   308   309   310   311   312   313   314   315   316