Page 312 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 312
234
คุ้มครองการค้ามนุษย์ กฎหมาย พ.ร.บ ความรุนแรง กฎหมายลวนลามทางเพศในที่ทํางาน ซึ่งยังมี
ความไม่เห็นด้วยที่ว่าทําอย่างไร ให้ใส่ลงไปก่อนแล้วค่อยๆ มาแยกกลุ่มอีกที กลุ่มของผู้หญิงแยกใหม่
เป็นสิทธิการตัดสินใจของผู้หญิงในการกําหนดชีวิตตนเอง
คุณบุญภาดา อรุณเบิกฟ้า (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ) – จากวัตถุประสงค์ของ กสม. ที่
ดูเรื่องปฏิญญาสากลก่อน ดูในตัวปฏิญญายังสามารถดูตัวอนุสัญญาเจ็ด ฉบับได้ อย่างเช่น ในข้อ 5
เรื่องทรมาน โดยดูเรื่องทรมานเป็นหลัก โดยไม่เจาะลงไปในรายละเอียด ว่าอะไรเป็นตัวชี้วัดใน
อนุสัญญาอีกที ข้อ 5 ระบุว่า บุคคลใดถูกทรมานหรือการได้รับปฏิบัติ หรือลงทัณฑ์ซึ่งทารุณ โหดร้าย
ไร้มนุษยธรรม หรือหยามเหยียดนี้ได้นั้นจะอยู่ในข้อทรมานอยู่แล้ว เรื่องสิทธิเด็ก สิทธิสตรี ก็มีอยู่แล้ว
อาจจะเอามาแจกแจงก่อนว่าเป็นสิทธิอะไร ทางกรมฯ ได้รับผิดชอบในเรื่องแผนสิทธิมนุษยชนด้วย จะ
ประสานในภายหลัง กรมคุ้มครองสิทธิ หลักๆ ดูแลเรื่องค่าตอบแทนผู้เสียหาย กันจําเลยในคดีอาญา
การคุ้มครองพยาน การรับเรื่องราวร้องทุกข์ ให้คําปรึกษาในด้านกฎหมาย ในส่วนกองคุ้มครองสิทธิ
และเสรีภาพ ดูแลเรื่องส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพให้ประชาชนมีความรู้เรื่องกฎหมายเบื้องต้น ทําเรื่อง
แผนสิทธิมนุษยชน ปัจจุบันเป็นฉบับที่ 2 กําลังมีการประเมินอยู่ว่าแผนที่ 2 ทําแล้วได้ผลอะไรบ้าง
อย่างไร ทํารายงานอนุสัญญากติกาสิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน ทํา
เรื่องรายงาน ทําเรื่องการเข้าเป็นภาคี ส่งเสริมให้ข้าราชการ ผู้บังคับใช้กฎหมายมีความรู้เรื่องการ
ทรมาน รายงานการเลือกปฏิบัติด้านเชื้อชาติทุกๆ รูปแบบ รวมทั้งปัจจุบันกําลังเสนอเข้า ครม. แล้ว
เกี่ยวกับให้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาคนหาย หลักๆ แล้วไม่ได้ทําเรื่องตัวชี้วัด
คุณสันติ ลาติฟี (ส.น.ง.สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กสม.) - ตัวปฏิญญาสากล
(Declaration) นั้น เนื้อหากว้างขวางมาก ซึ่งครอบคลุมเรื่องสิทธิมนุษยชนทั้งหมด ทั้งเก้าฉบับ
เพราะฉะนั้นตัวปฏิญญาสากล (Declaration) ไม่มีผลทางกฎหมาย เป็นที่มาทําให้ UN กําหนดเป็น
กติกาสองฉบับ และอนุสัญญาอีกเจ็ดฉบับ เพื่อที่จะรองรับสิทธิต่างๆ ที่อยู่ใน UDHR คิดว่าในส่วนนี้ถ้า
หากเราต้องการท าให้ตัว indicators เป็นประโยชน์ของ กสม. ต่อไป เนื่องจากว่าความคาดหวังของ
UN ที่ต้องการให้ กสม. จัดท ารายงานคู่ขนาน (Alternative report) เพื่อรายงานประกบกับรายงาน
ประเทศของทางรัฐบาล ถ้าหากมีงบประมาณและระยะเวลาที่จ ากัด โดยการปรับตัวชี้วัดตามปฏิญญา
สากล กลายเป็นตัวชี้วัดตาม ICCPR และ IESCR ในช่วงแรก หลังจากนั้นค่อยมาดูตัวชี้วัดตาม
อนุสัญญาคนพิการ อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ (CEDAW)
อาจารย์วิชัย - ประเด็นเรื่อง UDHR คลุมเรื่องสิทธิมนุษยชนทั้งหมด ตัวปฏิญญาสากล
(Declaration) ไม่เป็นสนธิสัญญา แต่มันมีค่าทางกฎหมาย และสนธิสัญญาต่างๆ ก็ออกมาขยาย
ตีความเพิ่มเข้าไปให้ชัดขึ้น ถ้าทํา UDHR ครอบคลุมทั้งหมด ในการที่ใส่ในตาราง เนื่องจากเห็นว่า
ชัดเจน ส่วนในเรื่องของสตรี แรงงานต่างด้าว เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ (racial) อยู่ในประเด็นการเลือก
ปฏิบัติ ปทัสถานที่แทรกอยู่ ส่วนในเรื่องสิทธิเด็ก เพิ่มคนพิการใน UDHR ถ้าจะดูกรอบของใน
โครงการจริงๆ ให้ทําเรื่อง UDHR ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าจะกําหนดแค่ไหน อาจจะต้องทําเป็นช่วง (phase)
ถึงแม้จะทําเป็น UDHR ก็ตาม ถ้าทําเป็น phase จะคลุมทั้งหมด ทีนี้จะทําตัวชี้วัดกี่ตัว มากน้อยแค่
ไหน ลึกซึ้งแค่ไหน เป็นประเด็นหนึ่งที่เป็นปัญหาสําหรับคณะผู้ศึกษาเองว่าจะเอาตัวชี้วัดทั้งหมดเลย
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 1