Page 310 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 310
232
คุณวรพจน์ พวงสุวรรณ (ส านักบริหารกลาง กสม.) - ปทัสถานของ human right กับ
สวัสดิการ หรือ social welfare แม้เป็นญาติกันแต่ไม่เหมือนกัน ซึ่งหลายคนสับสน สมัยหนึ่ง social
welfare จะมองว่า welfare accessibility คนไทยใช้การให้บริการ ถ้า accessibility สามารถเข้าถึง
บริการ แต่การเข้าถึงที่เท่าเทียมกันอันนี้เป็นสิทธิมนุษยชน
คุณสันติ ลาติฟี (ส.น.ง.สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กสม.) - พิจารณาที่กรอบคิดในการ
จัดทํา ในกรอบแรก อนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนทั้งเจ็ดฉบับ แต่ list มาเฉพาะ ICCPR และ IESCR
ซึ่งเป็นเพียงแค่อนุสัญญาสองฉบับ กติการะหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี คิดว่าอะไรเป็นเรื่อง
สิทธิ อะไรเป็นเรื่องสวัสดิการสังคม ถ้าหาก list เจ็ดฉบับ ที่เป็นภาคีทั้งหมด ทั้งในเรื่องสิทธิคนพิการ
สิทธิในเรื่องสิทธิเด็ก การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติทั้งหมด จะสามารถเห็นภาพรวมว่าจะมีประเด็น
อะไรบ้างที่จะนํามาทํา indicators หลังจากนั้นค่อยมาจัดลําดับความสําคัญ (priority) ว่าจะเอาอะไร
เป็นเรื่องที่จะเริ่มต้นในการทํา indicators ปัญหาที่ยังรู้สึกว่ายังไม่ค่อยชัด เพราะว่า list มาเพียงแค่
สองกติกา แต่แท้ที่จริงแล้วยังมีอนุสัญญาถึงห้าฉบับ ที่ยังไม่ได้กล่าวถึงเรื่องคนพิการ คนพิการจะเป็น
ประเด็นที่มีความสําคัญมากว่า indicators เหล่านี้จะไปสร้างชีวิตใหม่ให้เขา สามารถเข้าถึงสิทธิต่างๆ
ได้อย่างกว้างขวางและครอบคลุมมากขึ้น เพราะฉะนั้นจึงคิดว่าควร list เพิ่มเติมให้ครบเจ็ดฉบับ ถ้า
มองไปไกลกว่านั้นว่าควรจะมองภาพรวมของระดับโลกเลยหรือไม่ เพราะว่าปัจจุบันนี้ในทางระหว่าง
ประเทศถือว่าอนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนมีเก้าฉบับ อีกสองฉบับที่ประเทศไทยยังไม่เป็นภาคี ซึ่ง
ขณะนี้กําลังพิจารณาเข้าเป็นภาคี คือ อนุสัญญาคนหาย อนุสัญญาแรงงานย้ายถิ่น ถ้าเอาเฉพาะ
สถานการณ์ปัจจุบันก็เจ็ดฉบับ แต่ถ้ามองไปถึงข้างหน้าควรจะเพิ่มไปอีกสองเป็นเก้าฉบับ
คุณภิรมย์ ศรีประเสริฐ (ส านักวิจัยและวิชาการ กสม.) - เห็นว่าควรพิจารณาตามตัวชี้วัดตาม
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนก่อน โดยดูตัวหลักๆ อยากให้มีตัวชี้วัดรายงานประเมินสถานการณ์
ในแต่ละเรื่อง เพราะต้องดูสถานการณ์ในประเทศไทย เกี่ยวกับสิทธิในเรื่องกระบวนการยุติธรรม อย่าง
น้อยตัวชี้วัดต้องน าไปใช้เกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิในประเทศไทยที่เกิดขึ้น ซึ่งจะต้องครบถ้วนตาม
ปฏิญญาสากลเสียก่อน ส่วนจะเลือกมาแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่ผ่านมาของไทย ต้องเป็น
ตัวชี้วัดที่ครอบคลุม ปัญหาต่อไปท าอย่างไรให้ตัวชี้วัดที่ได้มาจากงานตัวนี้เป็นที่ยอมรับของหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องว่าจะมีวิธีไหนในการน าไปสู่การน าไปใช้ และตัวชี้วัดนี้ต้องน าไปสะท้อนแผนแม่บทแห่งชาติ
ฉบับที่ 10 ต้องเปรียบเทียบดูว่าตามตัวชี้วัดในแผนแม่บทนั้นมีอะไรบ้าง ตัวนี้อาจจะต้องเชื่อมโยงหรือ
นํามาใช้ซึ่งกันและกันได้ ทําอย่างไรจะให้ตัวชี้วัดนี้นําไปสู่การยอมรับของประเทศได้ เพราะเวที
สัมมนานี้เล็ก
คุณสุพัตรา ภู่ธนานุสรณ์ (กองทุนสหประชาชาติเพื่อการพัฒนาสตรี) - เห็นด้วยกับการนํา
กติกาทั้งเจ็ดฉบับ มาใส่ด้วย กติกาสองฉบับ ที่ออกมายังไม่พอ ถึงมีอนุสัญญาตามมาอีกหก หรือเจ็ด
อนุสัญญา เพราะไม่สามารถที่จะคุ้มครองกลุ่มประชาชนเปูาหมายที่เป็นกลุ่มผู้หญิง เด็ก แรงงาน
อพยพ ผู้พิการ ถ้ามองเฉพาะปฏิญญาสากล หรือกติกาสองฉบับแรกก็อาจจะไม่ครอบคลุม จุดที่ไม่ได้
รับสิทธิ หรือไม่ได้รับความคุ้มครองเท่าที่ควร การนําประเด็นหลักๆ ใส่เข้าไป ต้องมาหาวิธีการว่าทํา
อย่างไรถึงจะทําให้ SMART และไม่มากจนเกินไป เป็นสิ่งที่ยาก ซึ่งไม่แน่ใจในกระบวนการว่าจะต้องมี
การระดมสมองในกลุ่มคนที่ทํางานในแต่ละด้านที่รับผิดชอบเกี่ยวกับคน ต้องมีทีมงานที่ดูว่าจะเข้า
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 1