Page 308 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 308

230

                         ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องจริงจังด้วย เวียดนามมีแผนพัฒนาเด็กห้าปี เวียดนามตั้งดัชนีเกี่ยวกับสิทธิเด็ก
                   80 ตัว เวียดนามรุกมาก พยายามพิสูจน์หลักฐานทุกรูปแบบ ทุ่ม 100%


                         คุณวรพจน์ พวงสุวรรณ (ส านักบริหารกลาง กสม.) -  การทํารายงาน indicators  ใช้
                   structure  ของ UN ซึ่งถ้ากลับไปดู จปฐ. ปรัชญา ไม่ใช่วัด แต่ทุกคนรับรู้เรียนรู้ร่วมกัน หลักการของ
                   ความจําเป็นพื้นฐาน

                         (1)  ใช้เครื่องชี้วัดความจําเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นเครื่องมือของกระบวนการเรียนรู้ของ
                   ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อให้ประชาชนทราบถึงสภาพความเป็นอยู่ของตนเอง ครอบครัว และ
                   ชุมชน ว่าบรรลุตามเกณฑ์ความจําเป็นพื้นฐานแล้วหรือไม่

                         (2)  ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา โดยผ่านกระบวนการ จปฐ. นับตั้งแต่การ
                   กําหนดปัญหาความต้องการที่แท้จริงของชุมชนการค้นหาสาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหา และการ
                   ประเมินผลการดําเนินงานที่ผ่านมา
                         (3)  ใช้ข้อมูล จปฐ. เป็นแนวทางในการคัดเลือกโครงการต่างๆ ของรัฐให้สอดคล้องกับสภาพ
                   ปัญหาที่แท้จริงของชุมชน สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัดได้อย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ

                   คือ ผู้ใช้ ดังนั้น ผู้มีส่วนได้เสีย (stakeholder)  ดําเนินการร่วมกัน จปฐ. มีคนใช้ ส่วน UN  ล้มเหลว
                   เพราะไม่มีคนใช้ ฉะนั้นถ้าจะทํา มี 2  นัย ถ้าจะวัด มันต้องยึด แต่ถ้าทําให้เกิดผู้มีส่วนได้เสีย
                   (stakeholder) ที่จะลงมือวัดเป็นใคร ถ้าเยอะคนดําเนินการต้องทําเองแต่คนประเมินจะทําเยอะอย่าง

                   นั้นไม่ได้ ก่อนจะทํา indicators  ต้องดูให้ดี ถ้าดูใน ICCPR และ IESCR จะมีบางตัวที่เหลื่อมกันอยู่
                   ต้องมองย้อนกลับไป ประเด็นเรื่องปทัสถาน หรือ Norm เรื่องการแบ่งแยก (discrimination) พอวัด
                   ได้แล้วต้องชี้กลับไปว่าอยู่ที่ไหน เพราะ indicators ตอนหลังใช้คําว่า key indicators ปลีกย่อยเยอะ
                   มากควรเอาเฉพาะ key  ก่อน ตัวไหนเป็น key  แล้วจะต่อตัวอื่น แบ่งเป็นสามชั้น ทําได้ ทําไม่ได้ ทํา

                   ยาก เหมือนแบ่งหมู่บ้านยากจนเป็นสามขนาด ไม่มีข้อสงสัย เพราะทุกคนพูดกับชาวบ้าน พูดกับผู้นํา
                   พูดกับเพื่อนที่เป็นสาธารณสุข จะพูดเหมือนกันหมด ดังนั้นการขาย HR  indictors  อย่างไรให้ทุกคน
                   พูดเรื่องเดียวกัน


                         อาจารย์วิทิต -  ข้อมูลของประเทศไทยมีมากมายที่เป็นสถิติที่มหาดไทย สภาพัฒน์ฯ สุ่มมาเป็น
                   ตัวอย่างข้างต้นถ้าขยายไปในเรื่องสิทธิ สามารถพิสูจน์ได้ไหมว่าเอื้อกับทุกกลุ่ม ต้องจําแนกออกมา
                   สิทธิในการศึกษาง่ายที่สุด เพราะกฎหมายและการไม่เลือกปฏิบัติ การศึกษาระดับประถมพิสูจน์ได้เลย
                   ตกหล่นนิดหน่อย คือ การปฏิบัติก็ชี้ แต่ว่าทั่วไปไม่เลือกปฏิบัติตาม พรบ.การศึกษา ส่วนสาธารณสุข

                   ทําได้ดีมาก แต่ว่ามีประเด็นต้องครอบคลุมถึงชนกลุ่มน้อยหรือไม่ ส่วนที่ยากที่สุด คือ สิทธิทาง
                   การเมืองแต่ต้องพิสูจน์บ้างต้องมีดุลยภาพไม่ใช่พิสูจน์แต่เรื่องเศรษฐกิจ สังคม เพียงอย่างเดียว ต้องดู
                   ทางด้านเยียวยา


                   6.2 การอภิปรายและระดมความคิด เรื่อง “กรอบ แนวคิด และปัจจัยในการพัฒนาตัวชี้วัด
                   สิทธิมนุษยชน”
                         ดําเนินรายการโดย ผศ. วิชัย ศรีรัตน์ ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา สาขาวิชา
                   นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช



                   รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 1
   303   304   305   306   307   308   309   310   311   312   313