Page 307 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 307

229

                    Outcome  จํานวนการควบคุมตัวโดยวัดจากหนึ่งแสนคน จํานวนการกักตัวโดยไม่ชอบ ไม่ว่าก่อน
                                 หรือหลังการกักตัว อย่างเป็นทางการ จํานวนการกักตัวที่ถูกกล่าวหาว่ามิชอบโดย

                                 ศาล จํานวนของการปล่อยตัว จํานวนของประชาชนที่พึงพอใจ/ไม่พึงพอใจ (วัดยาก
                                 เป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณภาพต้องเข้าไปถาม) จํานวนของการประทุษร้าย การ
                                 ตั้งเปูาหมายให้ลดลง ภายในห้าปี


                         ในเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม วัดได้ ทําได้ไม่ใช่ให้แค่ความช่วยเหลือเท่านั้น
                   ตั้งเปูาหมายลดความยากจนภายในสิบห้าปี ลด 50% แต่ในเรื่องสิทธิทางการเมือง บุคคล พลเรือนนั้น
                   ทําได้ยากเป็นการให้บริการมากกว่า ไม่ใช่การวัดโดยการลดจํานวน


                         อาจารย์วิชัย - จากคําแนะนําของสํานักงานสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้มีการแบ่งเป็น
                   สิทธิทางด้านต่างๆ ตามข้อบทในแต่ละข้อ แล้วนํามาแบ่งเป็น องค์ประกอบ/สาระแห่งสิทธิ (Right
                   Attribute)  แบ่งเป็นตัวชี้วัดสามประการ ตัวชี้วัดโครงสร้าง  (Structural  indicators)  ตัวชี้วัด

                   กระบวนการ (Process  Indicators) ตัวชี้วัดผลลัพธ์ (Outcome  Indicators) ในความคิดเห็นของ
                   อาจารย์วิทิต นั้นคิดว่าในประเทศไทยนั้น จําเป็นหรือไม่ที่ต้องดําเนินการเช่นนั้น หรือว่าไม่ต้อง เพราะ
                   มันจะเยอะเกินไป
                         อาจารย์วิทิต -  ใช้เป็นกรอบได้ ส่วนดัชนีควรนํา จปฐ. ปรับใช้ ซึ่งมีอยู่แล้วขยายโดยนําหลัก

                   สิทธิมนุษยชนเข้ามาประยุกต์ให้มากยิ่งขึ้น MDGs สถิติที่มีอยู่แล้ว ให้ตรงกับแผนฯ ของ กสม. ห้าปี มี
                   การเปรียบเทียบวัด (benchmark) ห้าปี วัดอะไรที่เป็นไปได้ ส่วนด้านกรอบทราบอยู่แล้วว่าไม่
                   สามารถทําได้ทั้งหมด เป็นไปไม่ได้ต้องเลือกเอา และต้องมีความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม
                   วัฒนธรรม พลเรือน การเมือง การวัดเรื่องพลเรือน การเมืองนั้นยากมาก ถ้าจะวัดง่ายต้องมีกฎหมาย

                   ทําตามกฎหมาย ฝึกอบรม  และควรใช้หลัก SMART  คือ มียุทธศาสตร์ไม่มากเกินไป ไม่สูงเกินไป มี
                   การทบทวนเป็นระยะ และมีกรอบเวลา


                         อาจารย์วิชัย -   จํานวนที่ร้องเรียนมาสู่ กสม. เข้าสู่ศาลกับผลลัพธ์ ตรงนี้รบกวนอาจารย์ช่วย
                   อธิบายเพิ่มเติมครับ

                         อาจารย์วิทิต - คดีที่ได้รับการพิจารณา มี process แล้ว ไม่ใช่แก้ไข สําหรับทางภาคใต้ คดีที่
                   ถึงศาลในปัจจุบันสามารถจัดการระงับได้ภายใน 11-12  เดือน ไม่เหมือนกับสองปีก่อน ใช้เวลา

                   ประมาณ 3 ปี นี่คือการผลักดันของท่านหัวหน้าศาล ทุกจังหวัดสามารถจัดการขจัดได้ภายใน 11-12
                   เดือน ไม่มากกว่านั้น สําหรับคดีความมั่นคงทั้งหลาย ศาลมีทฤษฎีว่าถ้าไม่ให้ความเป็นธรรมโดยเร็ว ก็
                   ถือว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ซึ่งเป็นเกณฑ์โดยปริยายของศาลทางภาคใต้ ต้องจัดการขจัดให้ได้ภายใน

                   หนึ่งปี ทําได้ด้วย พิสูจน์ได้ด้วย
                         ถ้าใช้คําประกาศของท่านประธานศาลใหม่ ตั้งเกณฑ์ ให้ผู้ที่ถูกกักตัวทุกคน เข้าถึงศาลได้ เพื่อ
                   ทบทวนการกักตัว โดยเร็วที่สุด ภายใน 48  ชั่วโมง (วิธีพิจารณาความอาญา) หรืออย่างมากที่สุด
                   ภายใน 1 สัปดาห์ ในกรณีฉุกเฉิน ทาง กสม. ต้องดูว่าส่วนไหนเป็นเกณฑ์ทั่วไป ส่วนไหนจะเกี่ยวข้อง

                   กับ กสม. ด้วย ส่วนมากจะเป็นในเรื่องปริมาณ/จํานวน (quantitative)



                   รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 1
   302   303   304   305   306   307   308   309   310   311   312