Page 63 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 63
52
เสียเอง (direct criminal activities) เป็นต้น (Barker, Hunter, & Rush, 1994 อ้างใน เกษมศานต์
โชติชาครพันธุ์ 2553)
2) การประพฤติมิชอบ (police misconduct) เป็นกรณีเกี่ยวข้องกับการใช้อ านาจ
หน้าที่ในต าแหน่ง ราชการในทางที่ผิด แต่การกระท านั้นไม่มีเจตนาที่จะทุจริต ไม่หวังได้รับสิ่งตอบ
แทนทางวัตถุแต่อย่างใด ค า ว่าโดยมิชอบ ก็คือ พฤติกรรมของต ารวจทุกรูปแบบที่ฝ่าฝืนหรือ
เบี่ยงเบนไปจากปทัสถาน พฤติกรรมที่แสดงออกถึงการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
โดยมิชอบมีหลากหลายรูปแบบ เช่น การกระท าทารุณ โหดร้าย (brutality) ซึ่งหมายความถึง
การใช้ก าลังทางกายภาพอันไม่สามารถให้เหตุผลได้ หรือเกินกว่าเหตุ หรือ ไม่มีความจ าเป็นที่จะต้องใช้
รวมถึงการใช้ก าลังเกินกว่าความจ าเป็นในการจับกุม หรือตรวจค้น หรือการแสดงออกซึ่งการคุกคาม
ทางเพศ (sexual misconduct) ของต ารวจต่อตัวผู้เสียหาย/เหยื่อ ผู้ต้องหา หรือ พยาน นอกจากนั้น
การที่ต ารวจใช้สารเสพติดเสียเอง (use of drugs) ก็ถือว่าเป็นการประพฤติมิชอบของต ารวจด้วย
(Barker et al., 1994 อ้างแล้ว)
3) การฝ่าฝืนหรือละเมิดกฎระเบียบข้อบังคับของหน่วยงาน (violations of
department rules and regulations) เป็นการกระท าที่ไม่ถูกต้อง แต่ไม่ถึงกับประพฤติมิชอบ หรือ
คอรัปชั่น เป็นแต่เพียงการฝ่าฝืน หรือกระท าผิดวินัย จรรยาบรรณ กฎข้อบังคับต่างๆของหน่วยงาน
การกระท าเช่นว่านี้ ยังไม่ถือว่าเป็น ความผิดตามกฎหมาย เป็นแต่เพียงความผิดเล็กน้อย
ในการปฏิบัติหน้าที่เท่านั้น เช่น การดื่มสุราในขณะปฏิบัติหน้าที่ หรือ การแอบนอนหลับขณะท างาน
เป็นต้น (Barker et al., 1994 อ้างแล้ว )
นอกจากนี้มีความพยายามอธิบายสาเหตุของพฤติกรรมของต ารวจที่ประพฤติ
โดยมิชอบ ว่ามาจาก
1. ปัจจัยด้านกฎหมาย กล่าวคือแนวคิดนี้เชื่อว่าพฤติกรรมที่มิชอบของต ารวจ
เกิดจากช่องว่างของกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ ที่ไม่ทันสมัย มีบทก าหนดโทษน้อยเกินไป ท าให้
ต ารวจผู้ปฏิบัติไม่เกรงกลัว เกิดเป็นช่องว่างหรือช่องโอกาสให้ต ารวจกระท าผิด
2. ปัจจัยภายนอกองค์กร ไม่ว่าจะเป็น ด้าน เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
ระบบอุปถัมภ์ โดยหลายกรณีสังคมต้องการ และยอมรับ การปฏิบัติที่ผิดกฎหมายของต ารวจ อาทิ
การที่สังคมยกย่อง ต ารวจมือปราบที่นิยมความรุนแรงที่อาจละเมิดสิทธิ มนุษยชน ท าให้ต ารวจ
เห็นว่าเป็นสิ่งที่ควรท าแม้จะไม่ถูกต้อง ขณะเดียวกัน ปัจจัยด้านการเมืองก็มีส่วนส าคัญในการส่งเสริม
พฤติกรรมที่มิชอบเช่นเดียวกัน เช่น การที่ฝ่ายการเมืองเข้ามามีส่วนในการแต่งตั้ง โยกย้าย ท าให้
ต ารวจต้องยอมปฏิบัติตามเพื่อความเติบโตในหน้าที่การงาน และพร้อมที่จะกระท าเกินขอบเขต