Page 61 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 61
50
ให้ต้องอยู่อาศัยเฉพาะในสถานที่ที่ก าหนด เช่นที่พักส าหรับผู้ที่อยู่ในระหว่างได้รับการปล่อย
ชั่วคราว หรือห้ามเข้าไปในสถานที่บางแห่งหรือห้ามติดต่อกับบุคคลตามที่ระบุไว้ในเงื่อนไข
2) ประเทศสหรัฐอเมริกา ตามหลักกฎหมายอเมริกันนั้น ตาม The
Bail Reform Act 1984 ของสหรัฐอเมริกาก็มีหลักเกณฑ์คล้ายคลึงกับกฎหมายอังกฤษดังกล่าว
โดยก าหนดว่าการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวอาจเป็นไปของสหรัฐอเมริกาก็มีหลักเกณฑ์คล้ายคลึง
กับกฎหมายอังกฤษดังกล่าว โดยก าหนดว่าการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวอาจเป็นไปได้ในกรณีที่
มีเหตุผลเป็นที่เชื่อได้ว่า ผู้ถูกกล่าวหานั้นจะหลบหนีหรือจะด าเนินการในทางที่ขัดขวางกระบวนการ
ยุติธรรมหรือจะไปกระท าความผิดทางอาญาที่ร้ายแรง โดยเฉพาะความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด
ความผิดที่มีอัตราโทษถึงขั้นจ าคุกตลอดชีวิต หรือในกรณีที่ความผิดถูกควบคุมตัวอยู่นั้นเป็น
ความผิดร้ายแรงมาแล้วสองครั้ง
3) ประเทศเยอรมัน การปล่อยชั่วคราวมีหลักเกณฑ์อันสรุปได้ว่า
ศาลอาจก าหนดเงื่อนไขในการปล่อยชั่วคราวว่าผู้นั้นต้องไปรายงานตัวต่อศาล ส านักงานอัยการ
หรือส านักงานอื่นตามที่ก าหนดโดยอาจก าหนดเงื่อนไขด้วยว่าในเวลาอื่นๆ ผู้นั้นจะต้องไม่ออกจาก
ที่อยู่อาศัยของผู้นั้นเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลหรือส านักงานอัยการ หรืออยูภายใต้การ
ควบคุมดุแลของเจ้าพนักงานที่ได้มอบหมาย หรือผู้นั้นจะต้องไม่ไปติดต่อกับผู้ถูกกล่าวหาคนอื่นๆ
หรือพยานที่ยืนยันการกระท าผิดในคดีนั้น หรือเงื่อนไขอื่นๆ ที่จะเป็นมาตรการป้องกันไม่ให้ผู้นั้นไป
กระท าความผิดต่อไป ทั้งนี้ ศาลอาจก าหนดให้ผู้นั้นยื่นประกันตามที่ก าหนด ซึ่งหากผู้นั้นท าผิด
เงื่อนไขที่ศาลก าหนด หรือได้เตรียมการจะหลบหนี หรือไม่ไปรายงานตัวตามก าหนดนัด หรือ
มีพฤติการณ์อื่นที่ท าให้จ าเป็นต้องจับกุมตัวมาใหม่ ก็ให้ศาลมีอ านาจออกค าสั่งบังคับตามหมายจับ
เดิมที่มีอยู่แล้วนั้น การยื่นประกันอาจเป็นการวางเงินสดหรือหลักทรัพย์อื่นหรือโดยการค้ าประกัน
ของบุคคล ซึ่งศาลจะพิจารณาถึงจ านวนและประเภทของประกันนั้นตามความเหมาะสม
มาตรการการปล่อยตัวชั่วคราวตามกฎหมายไทย
ปัญหาเกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราวนั้น เป็นปัญหาใหญ่อีกเรื่องหนึ่งที่
ส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทย โดย ประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 107 ได้ก าหนดให้เกิดความชัดแจ้งขึ้นโดยบัญญัติว่า “เมื่อได้
รับค าร้องให้ปล่อยชั่วคราว ให้เจ้าพนักงานหรือศาลรีบสั่งอย่างรวดเร็ว และผู้ต้องหาหรือจ าเลย
ทุกคนพึงได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว...” นอกจากนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 108/1 ยังได้บัญญัติว่า “การสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราว จะกระท าได้ต่อเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อ
เหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้