Page 60 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 60
49
มาตรการการปล่อยตัวชั่วคราวของต่างประเทศ
นอกจากตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ
ทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights) ข้อ 9 ซึ่งก าหนดว่า “มิให้
ถือเป็นหลักทั่วไปว่าจะต้องคุมขังบุคคลผู้อยู่ระหว่างพิจารณาคดี หากแต่ควรจะปล่อยชั่วคราวโดย
อาจมีหลักประกันว่าจะกลับมาปรากฏตัวในการพิจารณาคดีหรือในกรณีจ าเป็นตามโอกาสหรือมา
รับการบังคับคดีตามค าพิพากษานั้นก็ได้” ดังได้กล่าวแล้วตามหลักการขององค์การสหประชาชาติ
เพื่อการคุ้มครองบุคคลทุกคนที่ถูกคุมขังหรือจ าคุก (Body of Principles for the Protection of All
Persons under Any Form of Detention or Imprisonment 1988) ข้อ 38 ก็ระบุหลักเกณฑ์นี้ไว้
สรุปความได้ว่า “ผู้ที่ถูกคุมขังในระหว่างการด าเนินคดีอาญาพึงมีสิทธิที่จะได้รับการพิจารณา
ให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างการด าเนินคดีนั้น”
1) ประเทศอังกฤษ ตามกฎหมายอังกฤษ ได้ก าหนดให้การปล่อย
ชั่วคราวมีทั้งกรณีปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีเงื่อนไขกรณีปล่อยตัวชั่วคราวโดยก าหนดเงื่อนไขให้ต้อง
ปฏิบัติในระหว่างเวลาที่ได้รับการปล่อยตัว และกรณีการปล่อยตัวชั่วคราวโดยมีประกันหรือ
หลักประกัน ส่วนเรื่องข้อพิจารณาในการปล่อยชั่วคราวนั้น ได้มีการจ าแนกหลักเกณฑ์ในการ
ปล่อยชั่วคราวออกเป็น 2 กรณี กล่าวคือ (1) หากเป็นคดีความผิดประเภทที่ไม่มีอัตราโทษจ าคุก
(non-imprisonable offences) จะไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวได้เฉพาะในกรณีที่ผู้นั้นเคยหลบหนี
ไม่มาตามนัดในครั้งก่อน ๆ และเป็นที่น่าเชื่อว่าหากได้รับการปล่อยชั่วคราวอีกก็จะไม่มารายงานตัว
ตามนัด (2) หากเป็นคดีความผิดที่มีอัตราโทษจ าคุก (imprisonable offences) เหตุในการไม่อนุญาต
ให้ปล่อยตัวชั่วคราวจะกว้างขึ้น โดยการไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวอาจเป็นไปได้ในกรณีที่มี
เหตุผลเป็นที่น่าเชื่อได้ว่า ผู้ถูกกล่าวหานั้นจะไม่มารายงานตัวตามนัดหรือจะไปกระท าความผิด
ทางอาญาหรือจะไปท าความยุ่งเหยิงแก่พยานหลักฐานหรือจะด าเนินการในทางที่ขัดขวางกระบวนการ
ยุติธรรม นอกจากนี้ยังอาจไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวในกรณีที่ผู้นั้นเคยหลบหนีไม่มาตามนัด
ในครั้งก่อน ๆ หรือเป็นกรณีที่สมควรจะต้องควบคุมตัวผู้นั้นไว้เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยและ
สวัสดิภาพของผู้นั้นเอง ทั้งนี้ในการจะพิจารณาว่ามีเหตุผลเป็นที่เชื่อได้ว่าผู้นั้นจะไม่มาตามนัดหรือ
จะไปกระท าความผิดทางอาญาหรือจะด าเนินการในทางที่ขัดขวางกระบวนการยุติธรรมหรือไม่นั้น
ให้พิจารณาจากลักษณะและความร้ายแรงของความผิด พฤติกรรมของผู้นั้น การต้องโทษในครั้งก่อน
สังคมแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่ผู้นั้นอาศัยอยู่ บันทึกประวัติเกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราวผู้นั้น
ในครั้งก่อนๆ และน้ าหนักของพยานหลักฐานที่ยืนยันข้อกล่าวหาที่มีต่อผู้นั้น เมื่อผู้นั้นได้รับการ
ปล่อยชั่วคราวแล้ว จะต้องมีหน้าที่ไปรายงานตัวต่อต ารวจตามเวลาที่ก าหนด และอาจถูกก าหนด