Page 68 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 68

57


                                  3.  ผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความ (ป.วิ.

                      อาญา มาตรา 83 วรรคสอง)

                                  4.  ถ้าผู้ถูกจับประสงค์จะแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจทราบถึงการจับกุม
                      ที่สามารถด าเนินการได้โดยสะดวก และไม่เป็นการขัดขวางการจับหรือการควบคุมผู้ถูกจับ หรือท า

                      ให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด เจ้าพนักงานได้อนุญาตให้ผู้ถูกจับด าเนินการได้

                      ตามสมควรแก่กรณีแล้ว (ป.วิ.อาญา มาตรา 83 วรรคสอง)

                                  5.  ผู้ถูกจับได้รับทราบข้อกล่าวหาและรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุแห่งการจับแล้ว/หรือ

                      ได้แจ้งว่ามีหมายจับให้ผู้ถูกจับทราบและได้อ่านหมายจับให้ฟังแล้ว (เมื่อถึงที่ท าการของพนักงาน
                      สอบสวน) (ป.วิ.อาญา มาตรา 84 วรรคแรก (1))

                                  6.  ผู้ถูกจับมีสิทธิได้รับมอบส าเนาบันทึกการจับกุมจากเจ้าพนักงานผู้จับ (ป.วิ. อาญา

                      มาตรา 84 วรรคแรก (1))

                                  และสิทธิอีกประการที่เจ้าพนักงานซึ่งมีผู้น าผู้ถูกจับมาส่งหรือเจ้าพนักงานซึ่งรับมอบ

                      ตัวผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา (อาจเป็นพนักงานสอบสวน) มีหน้าที่ต้องแจ้งให้แก่ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา
                      ทราบ และจัดด าเนินการตามบทบัญญัติของกฎหมายให้แก่ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา ณ ที่ท าการของ

                      พนักงานสอบสวน มีดังต่อไปนี้

                                  1.  มีสิทธิแจ้งหรือขอให้เจ้าพนักงานแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา

                      ไว้วางใจทราบถึงการถูกจับกุม และสถานที่ที่ถูกควบคุมในโอกาสแรก (ป.วิ.อาญา มาตรา    7/1
                      วรรคแรก, ป.วิ.อาญา มาตรา 84 วรรคสอง)

                                  2.  มีสิทธิพบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว (ป.วิ.อาญา มาตรา

                      7/1 วรรคแรก (1), ป.วิ.อาญา มาตรา 84 วรรคสอง)

                                  3.  มีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากค าตนได้ในชั้น
                      สอบสวน (ป.วิ.อาญา มาตรา 7/1 วรรคแรก (2), ป.วิ.อาญา มาตรา 84 วรรคสอง)

                                  4.  มีสิทธิได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติได้ตามสมควร (ป.วิ.อาญา มาตรา   7/1

                      วรรคแรก (3), ป.วิ.อาญา มาตรา 84 วรรคสอง)

                                  5.  มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย (ป.วิ.อาญา มาตรา  7/1

                      วรรคแรก (4), ป.วิ.อาญา มาตรา 84 วรรคสอง)
                                  6.  จัดให้ผู้ถูกจับสามารถติดต่อกับญาติหรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับไว้วางใจ เพื่อแจ้งให้ทราบถึง

                      การจับกุมและสถานที่ที่ถูกควบคุมได้ในโอกาสแรกเมื่อผู้ถูกจับมาถึงที่ท าการของพนักงานสอบสวน
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73