Page 59 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 59
48
พลิกศพนั้นจะต้องสามารถท าหน้าที่ได้อย่างเป็นธรรม และเป็นอิสระจากบุคคลหรือหน่วยงานหรือ
องค์กรใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตายนั้น ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันว่าการชันสูตรพลิกศพจะท าให้ได้
ข้อมูลตรงกับความเป็นจริง...” อาจท าให้เห็นได้ว่าหากเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ
การตายเป็นเจ้าพนักงานอื่นที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ต ารวจ การให้พนักงานสอบสวนเป็นหลักในการชันสูตร
พลิกศพและท าการสอบสวนดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก าหนดดังกล่าวก็อาจ
ไม่เป็นปัญหาเท่าใดนัก แต่หากเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตายเป็นเจ้าหน้าที่
ต ารวจโดยตรง การให้พนักงานสอบสวนซึ่งเป็นเจ้าพนักงานในสังกัดเดียวกันกับเจ้าพนักงานผู้มี
ส่วนเกี่ยวข้องกับการตายเป็นหลักในการชันสูตรพลิกศพและท าการสอบสวนนั้นอาจท าให้เกิด
ความไม่มั่นใจว่าจะสามารถท าหน้าที่ได้อย่างเป็นธรรมและเป็นอิสระ ดังนั้นในด้านหนึ่งจึงมีผู้เสนอ
ว่าควรมีการพัฒนาการชันสูตรพลิกศพโดยแพทย์นิติเวชหรือผู้ที่มีความรู้ด้านนิติเวชซึ่งผ่านการ
ฝึกอบรมให้สามารถปฏิบัติงานด้านนิติเวชโดยเฉพาะ โดยให้มีบทบาทหลักในการตรวจสอบการ
ตายดังกล่าวโดยเฉพาะในการชันสูตรพลิกศพนั้น และในอีกด้านหนึ่งหากเป็นกรณีที่เจ้าพนักงาน
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตายเป็นเจ้าหน้าที่ต ารวจ ก็ควรปรับปรุงระบบใหม่ให้เจ้าพนักงานในสังกัด
อื่นที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ต ารวจเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการชันสูตรพลิกศพและท าการสอบสวนโดยอาจ
น าแนวคิดเรื่อง coroner ของอังกฤษหรือการควบคุมการสอบสวนโดยเจ้าพนักงานอื่นในกระบวนการ
ยุติธรรมอย่างในระบบของเยอรมันดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ ก็จะเป็นการพัฒนาระบบให้มีหลักประกัน
ในเรื่องของความเป็นธรรมและความเป็นอิสระในการตรวจสอบมากขึ้นตามมาตรฐานขององค์การ
สหประชาชาติดังกล่าว
2.3.3.6 มาตรการในการตุ้มครองสิทธิที่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว
การปล่อยชั่วคราวเป็นมาตรการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในกระบวนการ
ยุติธรรมทางอาญาประการหนึ่งโดยการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว และควบคุมตัวบุคคลนั้นต่อไป
ต้องถือเป็นเพียงข้อยกเว้น สืบเนื่องจากหลักการที่ว่าบุคคลทุกคนได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อน
ว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าได้มีค าพิพากษาถึงที่สุดว่าผู้นั้นได้กระท าความผิดนั้น อย่างไรก็ตาม
อาจมีความจ าเป็นที่รัฐจะต้องควบคุมตัวผู้ถูกกล่าวหานั้นไว้ในระหว่างการด าเนินคดีอาญาเพื่อให้
เกิดความแน่นอนว่า 1) มีตัวผู้นั้นอยู่ระหว่างการด าเนินการตามขั้นตอนตามกฎหมาย 2)ผู้นั้นจะไม่
ไปก่อภยันตรายอื่นโดยเฉพาะต่อพยานหลักฐาน เพื่อป้องกันมิให้ผู้ถูกกล่าวหาท าผิดเงื่อนไขดังกล่าว
กฎหมายจึงก าหนดให้อาจต้องมีการประกันหรือมีหลักประกันด้วย ซึ่งมีการก าหนดหลักเกณฑ์
ในการปล่อยตัวชั่วคราวของต่างประเทศและในประเทศดังต่อไปนี้