Page 58 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 58
47
เรื่องป้องกันเท่านั้น ดังนั้น “วิสามัญฆาตกรรม ” จึงเป็นนโยบายไม่ได้ และวางแผนล่วงหน้าไม่ได้
ด้วย และนอกจากนี้ข้ออ้างเรื่องการใช้สิทธิในการป้องกันส าหรับประชาชนทั่วไปกับเจ้าพนักงานนั้น
น่าจะไม่เหมือนกันเสียทีเดียวนัก กล่าวคือ หากเป็นกรณีประชาชนทั่วไปย่อมสามารถใช้สิทธิ
ป้องกันได้โดยไม่จ าเป็นที่จะต้องหลบหลีกภัยนั้น แต่ในกรณีของเจ้าพนักงานนั้น หากเทียบเคียงกับ
มาตรฐานขององค์การสหประชาชาติดังกล่าว ควรจะต้องน าหลักเกณฑ์ที่ว่า “โดยอยู่ในภาวะที่ไม่
สามารถหลีกเลี่ยงเป็นอย่างอื่นได้แล้วเท่านั้น ” มาเป็นมาตรฐานของการปฏิบัติเพียงแต่หลักเกณฑ์
ตามกฎหมายไทยยังไม่มีความชัดเจนในประเด็นนี้
ส าหรับการตรวจสอบการตายในกรณีมีการตายเกิดขึ้นโดยการกระท า
ของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้า
พนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่นั้น โดยหลักการของกฎหมาย กระบวนการตรวจสอบ
ดังกล่าว ได้แก่การชันสูตรพลิกศพและการไต่สวนการตาย เป็นต้น มีขึ้นเพื่อเป็นมาตรการในการ
ตรวจสอบว่าผู้ตายได้ถูกเจ้าพนักงานของรัฐใช้อ านาจกระท าให้ตายโดยมิชอบหรือไม่ และ
ในขณะเดียวกันก็เป็นหลักประกันแก่เจ้าพนักงานเองด้วยว่าหากกระท าการโดยถูกต้องแล้ว
ก็ไม่ต้องหวั่นเกรงว่าจะถูกฟ้องร้องโดยไม่เป็นธรรมในภายหลัง ซึ่งตามกฎหมายไทย ประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 บัญญัติว่า “...ในกรณีที่มีความตายเกิดขึ้นโดยการ
กระท าของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุม
ของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ให้พนักงานอัยการและพนักงานฝ่ายปกครอง
ต าแหน่งตั้งแต่ปลัดอ าเภอหรือเทียบเท่าขึ้นไปแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่เป็นผู้ชันสูตรพลิกศพร่วมกับ
พนักงานสอบสวนและแพทย์... ” และ “...เมื่อได้รับส านวนชันสูตรพลิกศพแล้ว ให้พนักงานอัยการ
ท าค าร้องขอต่อศาลชั้นต้นแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่ เพื่อให้ศาลท าการไต่สวนและท าค าสั่งแสดงว่า
ผู้ตายคือใคร ตายที่ไหน เมื่อใด และถึงเหตุและพฤติการณ์ที่ตาย.... ” มีข้อสังเกตว่า การไต่สวน
ดังกล่าวยังวางแนวทางให้พนักงานสอบสวนเป็นหลักในการชันสูตรพลิกศพ อันส่งผลต่อเนื่อง
ในการไต่สวนในศาลเกี่ยวกับการตายซึ่งอิงอยู่บนฐานข้อมูลหลังจากส านวนการชันสูตรพลิกศพ
ของพนักงานสอบสวนนั้น กลายเป็นเพียงการไต่สวนไปตาม “แบบพิธี” โดยไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ
ในการค้นหาให้ได้ความจริงเท่าที่ควร
เมื่อเปรียบเทียบกับตามหลักการขององค์การสหประชาชาติว่าด้วย
การป้องกันและสอบสวนอย่างมีประสิทธิภาพเกี่ยวกับการวิสามัญฆาตกรรม และการลงโทษ
ประหารชีวิตที่ไร้เหตุผลและรวบรัด ( Principles on the Effective Prevention and Investigation
of Extra-Legal, Arbitrary and Summary Executions 1989) ซึ่งก าหนดว่า “ผู้ที่ท าหน้าที่ชันสูตร