Page 66 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 66
55
สอบสวนสามารถกระท าการตามที่กฎหมายให้อ านาจไว้โดยใช้อ านาจตามกฎหมายเพื่อด าเนินการ
รวบรวมพยานหลักฐาน ซึ่งอาจถือว่าเป็นเครื่องมือของพนักงานสอบสวน เช่น หมายเรียก หมายจับ
การจับ หมายค้น การค้น การควบคุม การฝากขัง การปล่อยชั่วคราว เป็นต้น เพื่อให้การสอบสวน
บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อสอบสวนเสร็จแล้วจึงเสนอความ เห็นในส านวนการสอบสวน
ว่าควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องเสนอต่อพนักงานอัยการต่อไป พนักงานอัยการจะตรวจพิจารณาในส านวน
การสอบสวนว่ามีพยานหลักฐานพอฟ้องหรือไม่ โดยอาจมีความเห็นควรสั่งไม่ฟ้องหรือเห็นควรสั่งฟ้อง
หรือสั่งให้สอบสวนเพิ่มเติมก็ได้ แต่ถ้ามีความเห็นควรสั่งฟ้องพนักงานอัยการก็จะยื่นฟ้องต่อศาล
เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาล ศาลไม่จ าเป็นต้องไต่สวนมูลฟ้อง แต่ถ้าเห็นสมควรจะสั่งให้ไต่สวน
มูลฟ้องก่อนก็ได้ โดยปกติในทางปฏิบัติศาลมักจะไม่สั่งให้ไต่สวน มูลฟ้อง โดยสั่งประทับฟ้องไว้
พิจารณาในทันที ทั้งนี้เนื่องจากคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนั้นถือว่าได้ผ่านการสอบสวน
ของพนักงานสอบสวนและผ่านการตรวจสอบของพนักงานอัยการมาแล้วถึง 2 ชั้น จึงต่างกับกรณี
ที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง เองนั้นยังไม่มีการตรวจสอบมาก่อนว่าผู้ถูกฟ้องนั้นได้เป็นผู้กระท า
ผิดจริงหรือไม่ หรือเป็นการแกล้งกล่าวหากันหรือ ไม่ อย่างไร
และกรณีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลไม่ว่าผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีเองหรือพนักงานอัยการ
เป็นโจทก์ก็ตาม ก็ต้องค านึงถึงเขตอ านาจของศาลที่จะยื่นฟ้องด้วย ว่าศาลนั้น ๆ มีเขตอ านาจใน
การพิจารณาคดีหรือไม่ (ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 22 - 26)
เมื่อศาลชั้นต้นท าการพิจารณาคดีฝ่ายโจทก์และจ าเลยต้องน าพยานหลักฐาน
ต่าง ๆ มาสืบ โดยโจทก์ต้องน าสืบให้ศาลแน่ใจว่าจ าเลยเป็นผู้กระท าผิดจริง ส่วนฝ่ายจ าเลยก็ต้อง
น าสืบถึงความบริสุทธิ์ของตนแก้ข้อกล่าวหาของโจทก์ว่าตนไม่ได้เป็นผู้กระท าผิด หรือหากศาล
มีความสงสัยตามสมควรว่าจ าเลยได้กระท าผิดหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จ าเลย
หรือกรณีจ าเลยอาจรับสารภาพต่อศาลก็ตาม ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานต่อไปก็ได้
ถ้าความผิดนั้นมีอัตราโทษอย่างต่ าให้จ าคุกไม่ถึงห้าปี ถ้าความผิดมีอัตราโทษสูงกว่าคืออย่างต่ า
ให้จ าคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป ศาลจะต้องท าการสืบพยานหลักฐานก่อนจนกว่าจะพอใจว่าจ าเลยได้
กระท าผิดจริง เมื่อท าการสืบพยานทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้นแล้ว ศาลก็จะพิพากษาคดี ถ้าคดีนั้นไม่มี
การอุทธรณ์หรือฎีกาก็ถือว่าคดีนั้นมีค าพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องท าให้คดีอาญา
ระงับไปตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39(4)
แต่ถ้ามีการอุทธรณ์คดีอาญาก็ยังไม่ระงับจนกว่าศาลอุทธรณ์จะท าการพิพากษาและ
ไม่มีการฎีกา หรือล่วงเลยก าหนดอายุความฎีกา หรือมีการฎีกาและศาลฎีกาพิพากษามาแล้ว
จึงจะถือว่าคดีนั้นมีค าพิพากษาถึงที่สุดแล้ว