Page 64 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 64
53
อ านาจหน้าที่สนองความต้องการ ทางการเมือง หรือแม้กระทั่ง การที่ฝ่ายการเมืองก าหนดนโยบาย
ที่ชี้น าการ ปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ต ารวจ
3. ปัจจัยภายในองค์กร การจัดรูปแบบหรือโครงสร้างองค์กร อาจถูกพิจารณาว่า
เป็นปัจจัยที่เอื้อให้ต ารวจประพฤติมิชอบ หรือการขาดประสิทธิภาพขององค์กรที่จะจัดการกับปัญหา
เจ้าหน้าที่ประพฤติมิชอบ องค์กรต ารวจไทยมีโครงสร้างเป็นระบบราชการแบบดั้งเดิม มีช่วงชั้นการ
บังคับบัญชาเป็นสายงานที่ยาว อาจท าให้เกิดปัญหาในการควบคุมก ากับดูแล และลงโทษได้
4. พฤติกรรมที่มิชอบของต ารวจเกิดจากวัฒนธรรมองค์กร เป็นการอธิบาย
ในระดับตัวแสดงของพฤติกรรม คือ ต ารวจ เน้นการศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมในระดับ
ปัจเจกบุคคล ระดับกลุ่มบุคคลในฐานะกลุ่มคนในอาชีพ เช่น ปัจจัยทางจิตวิทยา กระบวนการ
กล่อมเกลาทางสังคมของต ารวจ วัฒนธรรม องค์กร วัฒนธรรมการท างาน ที่จะส่งผลต่อพฤติกรรม
การทุจริตหรือประพฤติโดยมิชอบของต ารวจ
2.5 โครงสร้างการด าเนินคดีอาญา
ความเบื้องต้น
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นบทบัญญัติกฎหมายวิธีบัญญัติที่กล่าวถึง
วิธีการด าเนินกระบวนขั้นตอนต่าง ๆ ในการด าเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญาต่อผู้กระท าผิด
ตามกฎหมายที่มีโทษทางอาญา โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการการสืบสวน การสอบสวน การฟ้องร้อง
การพิจารณาและการพิพากษาคดี รวมทั้งการลงโทษผู้กระท าผิดตามที่กฎหมายสารบัญญัติ
ได้บัญญัติไว้
บทบัญญัติกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นบทบัญญัติ
ที่เรียกว่า “ระบบกล่าวหา” ซึ่งเป็นระบบวิธีพิจารณาที่ว่าด้วยการค้นคว้าพิสูจน์ความจริง หรือการ
ค้นหาความจริง (Truth Finding) โดยผู้กล่าวหาต้องเป็นผู้หาพยานหลักฐานมาสืบแสดงต่อศาลให้
เห็นว่าจ าเลยเป็นผู้กระท าผิดโดยปราศจากข้อสงสัย (prove beyond reasonable doubt)
เนื่องจากโดยหลักการแล้วกฎหมายได้ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่าบุคคลทุกคนเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะ
พิสูจน์ได้ว่าเป็นผู้กระท าผิดจริงจึงจะพิพากษาลงโทษได้ หากมีข้อสงสัยว่าจ าเลยเป็นผู้กระท าผิด
จริงหรือไม่ศาลต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จ าเลย โดยผู้ถูกกล่าวหาหรือจ าเลย กฎหมาย
ก็เปิดโอกาสให้สิทธิในการต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่
โดยที่กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพ
ของบุคคล กฎหมายจึงได้บัญญัติก าหนดขอบเขตอ านาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติไว้อย่างชัดเจน