Page 56 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 56

45


                                                   โดยในประเทศอังกฤษ มีระบบการตรวจสอบการตาย โดยเจ้าหน้าที่

                      ที่เรียกว่า  coroner  ซึ่งมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน โดยตั้งแต่ในศตวรรษที่ 11 ยุคที่

                      อาณาจักรโรมันปกครองดินแดนอังกฤษ ได้มีการตั้ง  coroner  ให้ท าหน้าที่รักษาผลประโยชน์
                      ของทางราชการโดยเรียกเก็บค่าปรับในคดีอาญาและริบทรัพย์สินของผู้ต้องโทษตามค าพิพากษา

                      แต่ต่อมาในศตวรรษที่ 20 ได้มีการตั้ง coroners’  court  ในแต่ละเมืองให้เป็นศาลยุติธรรมประเภทหนึ่ง

                      และหน้าที่ของ  coroner  ก็ได้เปลี่ยนไปเป็นท าหน้าที่ไต่สวนกรณีมีการตายที่เกิดจากการกระท า

                      รุนแรงและการตายผิดธรรมชาติหรือการตายโดยฉับพลันและไม่ทราบสาเหตุ  coroner  ในอังกฤษ

                      ถือเป็นเจ้าหน้าที่ทางตุลาการ โดยผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็น coroner  ต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ
                      ทางกฎหมายซึ่งปฏิบัติงานด้านคดีความหรือเป็นที่ปรึกษากฎหมายหรือเป็นแพทย์ที่ได้รับใบอนุญาต

                      ประกอบวิชาชีพแพทย์มาแล้วอย่างน้อย 5 ปี บุคคลใดก็ตามที่พบการตายผิดธรรมชาตินั้นจะต้อง

                      รายงานข้อเท็จจริงนั้นให้  coroner ประจ าท้องที่ทราบในทันที มิฉะนั้นอาจเป็นความผิดทางอาญา

                      coroner  อาจสั่งให้ชันสูตรพลิกศพและผ่าศพเพื่อหาสาเหตุการตายที่แน่ชัดนั้น และในการปฏิบัติงาน

                      coroner  มีผู้ซึ่งมีประสบการณ์ด้านการสอบสวน เช่น เป็นอดีตเจ้าหน้าที่ต ารวจ มาเป็นผู้ช่วย
                      เพื่อท าหน้าที่ช่วยเหลือในการรวบรวมพยานหลักฐานและข้อมูลประกอบการไต่สวนของ  coroner

                      โดย coroner จะต้องท าการไต่สวนหากพบว่าเป็นการตายที่เกิดจากการกระท ารุนแรงหรือการตาย

                      ผิดธรรมชาติหรือเป็นการตายภายใต้การควบคุมของเจ้าพนักงาน เช่น ตายในเรือนจ าหรือใ     น

                      ห้องควบคุมของสถานีต ารวจ เป็นต้น หรือมีพฤติการณ์พิเศษอื่น ๆ เช่น ตายในเหตุการณ์จลาจล
                      เป็นหน้าที่ของ coroner’s  court  ที่จะต้องมีค าสั่งแสดงว่าการตายนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ที่ใด เมื่อใด

                      และสาเหตุของการตายนั้น  coroner อาจนั่งพิจารณาเพียงล าพังหรือในกรณีที่มีพฤติการณ์

                      ที่เฉพาะเจาะจงอาจออกนั่งพิจารณาโดยมีคณะลูกขุนด้วย โดยหาก coroner มีเหตุผลอันควรสงสัย

                      ว่าเป็นการมาตกรรม การฆ่าตัวตาย การลอบสังหาร หรือการตายเกิดจากอุบัติเหตุทางถนน
                      ก็จะต้องออกหมายตั้งคณะลูกขุนในการไต่สวนคดีนั้น

                                                   ระบบการตรวจสอบการตาย โดย  coroner  นี้ เป็นแบบอย่างของ

                      การจัดให้มี coroner ในประเทศต่าง ๆ อีกหลายประเทศในโลก เพียงแต่อาจมีรายละเอียดของรูปแบบ

                      ที่แตกต่างกัน เช่น ในสหรัฐอเมริกา  coroner  เป็นเจ้าหน้าที่ที่มาจากการเลือกตั้ง ท าหน้าที่ค้นหา

                      ความจริงในลักษณะกึ่งตุลาการ มีอ านาจออกหมายเรียกและในบางมลรัฐก็มีอ านาจแต่งตั้ง
                      คณะลูกขุนเพื่อฟังการไต่สวนด้วย  coroner  ในสหรัฐอเมริกายังแตกต่างกับในอังกฤษตรงที่ไม่ถือ

                      เป็นเจ้าหน้าที่ทางตุลาการแต่ถือเป็นเจ้าหน้าที่ของฝ่ายบริหาร แต่บทบาทหน้าที่ก็เป็นท านอง

                      เดียวกันกับ coroner ของอังกฤษ
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61