Page 57 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 57

46


                                                   ขณะที่ตามหลักกฎหมายเยอรมัน ก าหนดว่า ในกรณีที่เป็นการ

                      ตายผิดธรรมชาติหรือพบศพที่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นศพของบุคคลใด ให้เจ้าหน้าที่ต ารวจหรือ

                      พนักงานท้องถิ่นรายงานเหตุดังกล่าวต่อส านักงานอัยการหรือศาลแห่งท้องที่นั้นทราบในทันที
                      การชันสูตรพลิกศพให้ด าเนการโดยส านักงานอัยการหรือศาลโดยความช่วยเหรือของแพทย์

                      การผ่าพิสูจน์ศพให้กระท าโดยแพทย์สองคน ซึ่งคนหนึ่งจะต้องเป็นแพทย์ที่ศาลแต่งตั้ง   หรือ

                      เป็นหัวหน้าสถาบันนิติเวชหรือแพทย์ของสถาบันที่ได้รับมอบหมายให้ด าเนินการดังกล่าว   และ

                      ต้องมีความรู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชด้วย


                                                มาตรการการคุ้มครองสิทธิการไม่ถูกวิสามัญฆาตกรรมตาม
                      หลักกฎหมายไทย

                                                ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 วรรคสาม

                      บัญญัติว่า “ถ้าบุคคลซึ่งจะถูกจับขัดขวางหรือจะขัดขวางการจับ หรือหลบหนีหรือพยายามจะหลบหนี

                      ผู้ท าการจับมีอ านาจใช้วิธีหรือการป้องกันทั้งหลายเท่าที่เหมาะแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับนั้น”
                      ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นการบัญญัติในลักษณะกว้าง ๆ ว่าผู้ท าการจับมีอ านาจใช้วิธีป้องกัน

                      ทั้งหลายเท่าที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์ในการจับผู้ที่จะถูกจับนั้นในกรณีที่ผู้นั้นไม่ยอมให้จับแต่โดยดี

                      แต่อย่างไรก็ดีก็ไม่ได้ให้รายละเอียดเท่าที่ควร หากเปรียบเทียบกับตามหลักการพื้นฐานที่ว่าด้วย

                      การใช้ก าลังบังคับและอาวุธปืนของเจ้าหน้าที่ที่มีอ านาจหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย (Basic Principles

                      on the Use of Force and Firearms by Law Enforcement Officials 1990)
                                                ค าว่า “วิสามัญฆาตกรรม” เป็นถ้อยค าที่ใช้เมื่อกล่าวถึงกระบวนการ

                      ตามกฎหมายที่จะต้องด าเนินการเมื่อมีความตายเกิดขึ้นโดยการกระท าของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่า

                      ปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติ
                      ราชการตามหน้าที่ ซึ่งค าว่า  “วิสามัญฆาตกรรม” ตามความเข้าใจทั่วไปจะหมายถึง  “การประหาร

                      ชีวิตนอกระบบกฎหมาย” (extra-judicial execution or summary execution) กล่าวคือหมายถึง

                      การที่เจ้าหน้าที่ต ารวจใช้อ านาจ  “จับตาย” ผู้ที่เจ้าหน้าที่ต ารวจอ้างว่าเป็นอาชญากรส าคัญนั่นเอง

                      ซึ่งส่วนหนึ่งถือเป็นความเข้าใจผิดที่อาจเกิดขึ้นจากแนวปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง เพราะไม่มีบทกฎหมาย

                      ใดเลยที่ให้สิทธิแก่เจ้าหน้าที่ต ารวจที่จะท า  “วิสามัญฆาตกรรม ” โดยตามประมวลกฎหมายวิธี
                      พิจารณาความอาญา มาตรา 83 วรรคสาม ดังกล่าวมิได้ให้สิทธิแก่เจ้าพนักงานที่จะใช้มาตรการ

                      รุนแรงให้ถึงตาย การที่จะใช้ก าลังรุนแรงถึงตายแก่ผู้ต้องหานั้นจะมีได้ก็เฉพาะต่อเมื่อเกิดการต่อสู้

                      ขัดขวางการจับกุม แล้วเจ้าหน้าที่ต ารวจใช้สิทธิในการป้องกันภยันตรายที่จะเกิดขึ้นกับตนเองหรือ

                      ผู้อื่น ซึ่งเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง และต้องท าไปโดยพอสมควรแก่เหตุตามหลักกฎหมายอาญา
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62