Page 37 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 37

26


                      ถูกคุมขังหรือที่ปรึกษาของผู้นั้นมีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลหรือองค์กรอื่นไม่ว่าเวลาใดก็ตามภายใน

                      หลักเกณฑ์ที่กฎหมายก าหนดเพื่อให้ไต่สวนว่าการคุมขังนั้นเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

                      และเพื่อขอให้มีการปล่อยตัวโดยไม่ชักช้าหากว่าการคุมขังนั้นเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย”
                                                นอกจากนี้ ตามกฎมาตรฐานชั้นต่ าขององค์การสหประชาชาติว่า

                      ด้วยมาตรการไม่ควบคุมตัว (  United  nations  Standard  Minimum  Rules  for  Non-custodial

                      Measures  1990  )  ข้อ 6 ก าหนดไว้สรุปความได้ว่า  “การคุมขังในชั้นตอนก่อนชั้นพิจารณาคดีนั้น

                      พึงใช้ต่อเมื่อเป็นหนทางสุดท้ายที่ไม่มีวิธีการอื่นที่เหมาะสมกว่าแล้ว โดยในการจะใช้พึงค านึงถึง

                      ความจ าเป็นต่อการสอบสวนความผิดตามข้อกล่าวหาตลอดจนการคุ้มครองสังคมและผู้เสียหาย
                      เป็นส าคัญ ผู้ถูกคุมขังพึงมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ต่อศาลหรือองค์กรอื่นที่มีอ านาจหน้าที่เพื่อตรวจสอบ

                      ความถูกต้องชอบธรรมของการคุมขังในกรณีที่มีการคุมขังในขั้นตอนก่อนชั้นพิจารณาคดีนั้น”


                                                มาตรการการจับกุมคุมขังในต่างประเทศ

                                                1) ประเทศสหรัฐอเมริกา ในหลักการในรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่ 4

                      ของสหรัฐอเมริกา เรื่องมีเหตุผลอันเป็นไปได้ (  probable cause) ซึ่งได้กล่าวไว้ในเรื่องของการค้น
                      ข้างต้นนั้น ครอบคลุมถึงกรณีของการจับกุมด้วย  โดยการจับกุมจะต้องค านึงถึงว่ามีเหตุผลตามสมควร

                      ที่ท าให้เชื่อได้ว่าผู้นั้นได้กระท าผิดและสมควรถูกจับกุมหรือไม่ ซึ่งศาลฎีกาสหรัฐอเมริกาอธิบายว่า

                      หมายถึงจะต้องมีพยานหลักฐานมารองรับที่มากกว่าข้อสงสัยหรือมากกว่าระดับ  “อาจจะเป็นไปได้

                      “ แต่ไม่จ าเป็นต้องถึงขั้นมีพยานหลักฐานที่พิสูจน์ได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าผู้นั้นกระท าผิดอย่าง
                      แน่นอนเหมือนอย่างการพิสูจน์ความผิดในศาล  ทั้งนี้ ศาลฎีกาสหรัฐอเมริกายังได้วางหลักเกณฑ์

                      เองโดยตลอดว่าองค์กรที่มีอ านาจออกหมายจับคือศาล  ในฐานะที่เป็นองค์กรกลางและท าหน้าที่

                      ตรวจสอบการใช้อ านาจของฝ่ายบริหาร

                                                2) ประเทศอังกฤษ กฎหมายอังกฤษ ก าหนดให้ศาลแขวง(Magistrates)

                      เท่านั้นที่เป็นผู้พิจารณาออกหมายจับผู้ต้องหาหลังจากที่ศาลแขวงนั้นได้พิจารณาข้อมูลที่ต ารวจ
                      ท าการสอบสวนนั้นแล้วเห็นว่าสมควรน าผู้ต้องหานั้นมาปรากฎตัวที่ศาล โดยก าหนดลักษณะของ

                      ความผิดที่สามารถจับกุมได้เลย (  arrestable offences ) โดยก าหนด ความผิดที่สามารถจับกุมได้

                      ( arrestable offences ) หมายถึงความผิดที่มีอัตราโทษจ าคุกขั้นสูงตั้งแต่  5 ปีขึ้นไป หรือในกรณี

                      ผู้ที่จะถูกจับกุมนั้นไม่เป็นที่ทราบชื่อและที่อยู่และไม่อาจที่จะทราบได้ด้วยหรือมีเหตุผลอันควรเชื่อ

                      ว่าการจับกุมนั้นเป็นสิ่งจ าเป็นในการป้องกันการก่ออันตรายแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องหรือบุคคลอื่นหรือ
                      ทรัพย์สิน หรือความผิดที่กระท าต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมหรือขัดขวางการสัญจรในทางหลวง

                      โดยมิชอบ
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42