Page 39 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 39
28
(1) เมื่อบุคคลนั้นได้กระท าความผิดซึ่งหน้าดังได้บัญญัติไว้ใน มาตรา 80
(2) เมื่อพบบุคคลโดยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าผู้นั้นน่าจะก่อเหตุร้าย
ให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น โดยมีเครื่องมือ อาวุธ หรือ วัตถุอย่างอื่นอันสามารถ
อาจใช้ในการกระท าความผิด
(3) เมื่อมีเหตุที่จะออกหมายจับบุคคลนั้นตาม มาตรา 66 (2) แต่มี
ความจ าเป็นเร่งด่วนที่ไม่อาจขอให้ศาลออกหมายจับบุคคลนั้นได้
(4) เป็นการจับผู้ต้องหาหรือจ าเลยที่หนีหรือจะหลบหนีในระหว่างถูก
ปล่อยชั่วคราวตาม มาตรา 117"
โดยเหตุที่จะออกหมายจับ ตามมาตรา 66 บัญญัติไว้ว่า “เหตุที่จะ
ออกหมายจับได้มีดังต่อไปนี้
(1) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระท าความผิด
อาญาซึ่งมีอัตราโทษจ าคุกอย่างสูงเกินสามปี หรือ
(2) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระท าความผิด
อาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตราย
ประการอื่น ถ้าบุคคลนั้นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือไม่มาตามหมายเรียกหรือตามนัดโดยไม่มีข้อ
แก้ตัวอันควร ให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบหนี"
โดยเมื่อได้ตัวผู้ต้องหามาแล้วและเข้าหลักเกณฑ์กรณีมีหลักฐานตาม
สมควรว่าผู้ต้องหานั้นได้กระท าความผิดอาญาร้ายแรง และมีพฤติการณ์ว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี
หรือ ไปยุ่งเหยิงกับพยาน หลักฐาน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 71 ได้บัญญัติ
ให้ใช้ มาตรา 66 มาใช้โดย อนุโลม
ซึ่งหลักเกณฑ์ของกฎหมายข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่ากฎหมายไทย
มีการวางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจับกุมและคุมขังไปในแนวทางที่มีการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคล
โดยก าหนดให้ในคดีอาญา ศาลเท่านั้นที่จะเป็นผู้ออกหมายจับหรือค าสั่งจับ ซึ่งก าหนดเหตุที่จะ
ออกหมายจับมีความชัดเจน โดยเมื่อมีการจับบุคคลใดแล้ว ผู้ถูกจับซึ่งยังควบคุมอยู่ต้องถูกน าตัว
ไปศาลภายใน 48 ชั่วโมงเพื่อให้ศาลตรวจสอบ ซึ่งการที่ศาลจะออกหมายขังผู้นั้นต่อไปก็จะต้อง
พิจารณาโดยหลักเกณฑ์อย่างเดียวกันว่ายังคงมีความจ าเป็น และเหตุผลตามกฎหมายในการ
ควบคุมตัวบุคคลนั้นไว้ในอ านาจรัฐต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหา