Page 34 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 34
23
อย่างแน่นอน ซึ่งหากเป็นสถานที่ของบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้ต้องหาแล้วจะต้องปรากฏข้อเท็จจริงยืนยัน
ได้ว่าผู้ต้องหาหรือร่องรอยการกระท าความผิดหรือสิ่งที่ถูกยึดอย่างแน่นอนนั้นอยู่ในสถานที่นั้น
การตรวจค้นสถานที่ส่วนบุคคลจะต้องขอค าสั่งศาลก่อนการตรวจค้น เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉิน
กฎหมายก าหนดให้ส านักงานอัยการอาจออกค าสั่งนั้นได้ ในการตรวจค้นสถานที่ส่วนบุคคลจะต้อง
เรียกเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นคนหนึ่งหรือสมาชิกของชุมชนที่สถานที่แห่งนั้นตั้งอยู่
จ านวนสองคนที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ต ารวจเข้าไปให้ความช่วยเหลือในการตรวจค้น ผู้อยู่อาศัยในสถานที่
ที่มีการตรวจค้นนั้นหรือผู้แทนจะต้องถูกเรียกอยู่ช่วยเหลือในการตรวจค้น ซึ่งจะต้องแจ้งวัตถุประสงค์
ของการตรวจค้นให้ผู้อยู่อาศัยและผู้ที่ถูกเรียกให้ช่วยเหลือดังกล่าวได้ทราบก่อนการตรวจค้น และ
เมื่อเสร็จสิ้นการตรวจค้นแล้ว ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการตรวจค้นมีสิทธิได้รับเอกสารบันทึกเหตุผล
ของการตรวจค้นและรายการสิ่งของที่มีการตรวจยึด ตลอดจนบันทึกหลักฐานกรณีไม่พบสิ่งใด
ที่จะยึดไว้ได้
2) กรณีการตรวจค้นตัวบุคคล และยานพาหนะ
2.1) ประเทศอังกฤษ กฎหมายได้วางหลักเกณฑ์เรื่องการตรวจค้น
ตัวบุคคล และยานพาหนะส่วนบุคคลในที่สาธารณะนั้นไว้ในหลักเกณฑ์เดียวกัน โดยก าหนดว่า
การที่เจ้าหน้าที่ต ารวจจะใช้อ านาจเรียกให้หยุดและตรวจค้นในกรณีนี้ได้จะต้องมีเหตุผลตามสมควร
ที่ท าให้สงสัยว่าจะพบหลักฐานเกี่ยวกับความผิด หรือจะพบของที่มีการลักขโมยหรือของผิดกฎหมาย
จากตัวบุคคลหรือภายในยานพาหนะนั้น โดยเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ต ารวจที่จะต้องแจ้งข้อมูล
ให้แก่บุคคลที่จะถูกตรวจค้นนั้นให้ได้ทราบชื่อและสังกัด (สถานีต ารวจ) ของเจ้าหน้าที่ต ารวจผู้ที่
จะเข้าตรวจค้นตลอดจนต้องแจ้งให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ของการตรวจค้นและเหตุผลที่ท าให้ขอ
การตรวจค้น รวมทั้งต้องแจ้งด้วยว่าเจ้าหน้าที่ต ารวจก าลังจะบันทึกการตรวจค้น และบุคคลที่
จะถูกตรวจค้นนั้นมีสิทธิขอส าเนาบันทึกดังกล่าวด้วย ในบันทึกการตรวจค้นจะต้องบันทึกข้อความ
เกี่ยวกับ 1)วัตถุที่ต้องการค้นหา เช่น ของที่ถูกขโมย หรือของผิดกฎหมาย 2) เหตุผลที่ท าให้สงสัยว่า
จะพบสิ่งขอดังกล่าว 3) วันและเวลาที่ท าการตรวจค้น 4) สถานที่ที่ท าการตรวจค้น 5) ผลการตรวจ
ค้น 6) ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการตรวจค้นหากปรากฏ (ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยให้ผู้ถูกตรวจ
ค้นสามารถเรียกให้เจ้าหน้าที่ต ารวจผู้ตรวจค้นนั้นรับผิดชอบหากมีการใช้อ านาจโดยมิชอบ)
2.2) ประเทศเยอรมัน กฏหมายได้ก าหนดให้การตรวจค้นตัวบุคคล
หรือทรัพย์สินอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงการตรวจค้นยานพาหนะด้วยนั้น อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์อย่างเดียวกัน
และมีหลักเกณฑ์เบื้องต้นเป็นอย่างเดียวกันกับการตรวจค้นสถานที่ส่วนบุคคลดังกล่าวข้างต้น
กล่าวคือจะต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อการจับกุมผู้กระท าความผิดหรือมีเหตุอันท าให้สันนิษฐานได้ว่า