Page 38 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 38
27
การควบคุมตัว ตามกฎหมายอังกฤษก าหนดว่า ต ารวจอาจควบคุม
ตัวผู้ที่ถูกจับกุมได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง ซึ่งอาจขยายเวลาควบคุมตัวได้อีกไม่เกิน 12 ชั่วโมง โดยการ
อนุญาตของหัวหน้าต ารวจ และหลังจากนั้นอาจขอต่อศาลแขวงรวมกันทุกคราวแล้วต้องไม่เกิน 96
ชั่วโมง ทั้งนี้ในการยื่นค าร้องขอขยายเวลาควบคุมตัวนั้นต ารวจจะต้องน าตัวผู้ที่ถูกจับกุมนั้นมายัง
ศาลแขวงด้วยโดยจะต้องแสดงหลักฐานข้อมูลเกี่ยวกับความจ าเป็น ในการขอขยายเวลาควบคุมตัว
ต่อศาลแขวงและต้องให้ส าเนาหลักฐานนั้นแก่ผู้ที่ถูกจับกุมดังกล่าวก่อนด้วย ซึ่งศาลแขวงก็จะท า
การไต่สวนว่าการควบคุมตัวมีความจ าเป็นต่อการรวบรวมพยานหลักฐานหรือการสอบสวนผู้ที่ถูก
จับกุมนั้นหรือไม่และที่ส าคัญอีกประการหนึ่งคือการสอบสวนนั้นได้เป็นไปอย่างแข็งขันและไม่ชักช้า
นั้นหรือไม่ นอกจากนี้ ตามระบบ Common Law มีหลักเกณฑ์ส าคัญเรื่อง Writ of Habeas Corpus
ซึ่งเป็นกระบวนการร้องขอต่อศาลว่าการควบคุมตัวกระท าโดยมิชอบจึงขอให้ศาลท าการไต่สวน
เพื่อออกหมายปล่อยตัวผู้ที่ถูกควบคุมตัวนั้น อันเป็นหลักที่สืบทอดมาตั้งแต่มี Magna Carta 1215
3) ประเทศเยอรมัน กฎหมายเยอรมันก าหนดหลักเกณฑ์ในการ
จับกุมและคุมขังบุคคลว่าจะต้องเป็นกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยอย่างยิ่งว่าผู้ต้องหาได้กระท าความผิด
( Strongly suspected of the offense) และมีเหตุให้จับกุมได้ เช่น ผู้ต้องหาได้หลบซ่อนตัวหรือ
ก าลังหลบหนี หรือได้กระท าการที่ท าให้น่าสงสัยเป็นอย่างยิ่งว่ามีเจตนาจะท าลายหรือท าให้เสียหาย
แก่พยานหลักฐานหรือใช้อิทธิพลในทางที่มิชอบต่อพยานหรือชักน าผู้อื่นให้ท าเช่นนั้น หรือเป็นกรณี
ที่มีเหตุอันควรสงสัยอย่างยิ่งว่าผู้ต้องหาได้กระท าความผิดหรือยังคงกระท าความผิดซ้ าหรือต่อเนื่อง
ในประเภทตามที่ได้ระบุไว้ในกฎหายให้ด าเนินการจับกุมได้ โดยกฎหมายเยอรมันก าหนด ให้ศาล
เป็นผู้ที่มีอ านาจออกหมายจับ และเมื่อต ารวจจับกุมผู้ต้องหาได้แล้วต้องรีบน าตัวผู้ต้องหานั้นไปส่ง
ต่อศาลโดยไม่ชักช้าเพื่อให้ศาลได้ตรวจสอบและไต่สวนผู้ต้องหาในเบื้องต้นนั้น โดยหากไม่สามารถ
น าตัวผู้ต้องหาไปส่งศาลที่ออกหายจับนั้นได้ทันภายในวันถัดจากวันที่ได้จับกุม ก็ให้ส่งตัวผู้ต้องหานั้น
ต่อศาลในท้องที่ที่อยู่ใกล้ที่สุดภายในเวลาไม่เกินกว่าวันถัดจากวันที่ได้จับกุมนั้น และในระหว่างที่
ผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวนั้นผู้ต้องหาอาจยื่นค าร้องต่อศาลขอให้ยกเลิกการควบคุมตัวนั้นได้ตาม
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายก าหนด
มาตรการการจับกุมคุมขังของประเทศไทย
หลักเกณฑ์หรือมาตรการในการจับกุมผู้กระท าผิดของประเทศไทยได้
พัฒนามาเป็นล าดับโดยปัจจุบันได้มีการแก้ไขประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในส่วนที่
เกี่ยวข้องกับการจับกุม กล่าวคือ “มาตรา 78 พนักงานฝ่ายปกครองหรือต ารวจจะจับผู้ใดโดยไม่มี
หมายจับหรือค าสั่งของศาลนั้นไม่ได้ เว้นแต่