Page 32 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 32

21


                      เรื่องที่กระทบต่อสิทธิ เสรีภาพ ในชีวิตส่วนตัว ชีวิตครอบครัว และ เคหสถาน อันเป็นสิทธิเสรีภาพ

                      ที่ส าคัญประการหนึ่ง ซึ่งเป็นไปตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (The Universal Declaration

                      of  Human  Rights) ข้อ 12 และตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
                      (International Covenant on Civil and Political Rights) ข้อ 17 ที่ได้รับรองสิทธินี้ไว้สรุปความได้ว่า

                      “การเข้าไปสอดแทรกโดยพลการหรือมิชอบด้วยกฎหมายในกิจส่วนตัว ครอบครัว เคหสถาน หรือ

                      การติดต่อสื่อสารจะกระท ามิได้ บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายจากการ

                      สอดแทรกดังกล่าว” :ซึ่งในประเด็นเรื่องนี้ อาจจ าแนกได้เป็น  3 กรณี ได้แก่ 1) การตรวจค้นสถานที่

                      ส่วนบุคคล  2) การตรวจค้นยานพาหนะและตัวบุคคล  3) การแสวงหาหลักฐานจากเนื้อตัวร่างกาย
                      ของบุคคล


                                                มาตรการการตรวจค้นของต่างประเทศ
                                                1) การตรวจค้นสถานที่

                                                   โดยหลักการทั่วไปแล้ว การเข้าตรวจค้นในสถานที่ส่วนบุคคล
                      จะต้องมีหมายค้นหรือค าสั่งที่ออกโดยชอบและจะต้องมีเหตุผลที่มีน้ าหนักพอที่จะออกหมายค้น

                      หรือออกค าสั่งนั้นได้ กรณีที่จะค้นในสถานที่ส่วนบุคคลโดยไม่มีหมายค้นหรือค าสั่งที่ออกโดยชอบ

                      ได้จะต้องเป็นกรณีที่มีกฎหมายก าหนดไว้อย่างแจ้งชัดให้กระท าได้ ซึ่งจ ากัดเพียงในบางกรณี เช่น

                      กรณีฉุกเฉินและมีความจ าเป็นอย่างยิ่ง ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม เป็นต้น และ

                      ไม่ว่ากรณีใดๆ การด าเนินการค้นจะต้องกระท าในขอบเขตที่เหมาะสม จากการศึกษาของ ชาติ
                      ชัยเดชสุริยะ (2549) พบว่าในต่างประเทศมีหลักการในการตรวจค้นที่คล้ายคลึงกัน ดังต่อไปนี้

                                                   1.1)  ประเทศอังกฤษ กฎหมายได้ก าหนดว่า หลักเบื้องต้นของ

                      การเข้าไปในสถานที่ของบุคคลใดเพื่อตรวจค้น มีหลักการเบื้องต้นคือเจ้าหน้าที่ต ารวจต้องขอให้
                      ศาลออกหมายค้น โดยในค าขอที่ยื่นต่อศาล จะต้องกล่าวถึงเหตุผลของหมายค้น (หากอ้างว่าเป็น

                      กรณีที่เกี่ยวกับความผิดร้ายแรงตามที่กฎหมายก าหนดจะต้องมีเหตุผลตามสมควรว่าการค้นจะท า

                      ให้ได้พยานหลักฐานส าคัญซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการสอบสวนด าเนินคดี) บทกฎหมายที่ให้อ านาจ

                      ในการขอหมายค้น สถานที่ที่จะขอตรวจค้น สิ่งของหรือบุคคลที่ประสงค์จะพบในสถานที่นั้น และ

                      เจ้าหน้าที่ต ารวจผู้ขอหมายค้นจะต้องสาบานตนและให้การต่อศาลประกอบการขอหมายค้นนั้น
                      ซึ่งหากศาลออกหมายค้นให้ก็ให้ใช้หมายนั้นเพื่อการค้นหาสถานที่ดังกล่าวได้เพียงสถานที่เดียว

                      และครั้งเดียวเท่านั้น โดยต้องด าเนินการภายในเวลาไม่เกินหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ลงหมาย

                      ส่วนเจ้าหน้าที่ต ารวจจะเป็นคนใดก็ได้ที่จะด าเนินการตามหมายค้น การตรวจค้นต้องกระท าใน

                      เวลาและระยะเวลาที่พอสมควรแก่เหตุ จะต้องแสดงหมายค้นต่อบุคคลที่อาศัยอยู่ในสถานที่นั้น
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37