Page 35 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 35

24


                      การตรวจค้นจะท าให้พบพยานหลักฐานที่จะใช้ในการด าเนินคดีนั้นหรือเพื่อค้นหาร่องรอยของการ

                      กระท าความผิดหรือเพื่อยึดสิ่งที่จะต้องยึดอย่างแน่นอนซึ่งหากเป็นกรณีการค้นทรัพย์สินของบุคคล

                      อื่นที่ไม่ใช่ผู้ต้องหาจะต้องปรากฏข้อเท็จจริงที่ยืนยันได้ว่าจะพบร่องรอยของการกระท าความผิดหรือ
                      สิ่งที่จะถูกยึดอย่างแน่นอนนั้นจากการตรวจค้นนั้น โดยทั่วไปจะต้องขอค าสั่งศาลก่อนการตรวจค้น

                      เช่นกัน เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉิน กฎหมายก าหนดให้ส านักงานอัยการอาจออกค าสั่งนั้นได้ ส่วนรายละเอียด

                      อื่นก็เป็นท านองเดียวกันกับการตรวจค้นสถานที่ส่วนบุคคลดังกล่าวข้างต้น


                                                มาตรการการตรวจค้นตามกฎหมายไทย

                                                การคุ้มครองสิทธิของประชาชนในการตรวจค้นของเจ้าหน้าที่นั้น
                      ตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา ได้วางหลักเกณฑ์ในการค้นดังนี้   โดย มาตรา  57

                      ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติใน  มาตรา 78 มาตรา 79 มาตรา 80 มาตรา 92 และ มาตรา 94 แห่ง

                      ประมวลกฎหมายนี้  จะจับ  ขัง  จ าคุก  หรือค้นในที่รโหฐานหาตัวคนหรือสิ่งของต้องมีค าสั่ง  หรือ

                      หมายของศาลส าหรับการนั้น บุคคลซึ่งต้องขังหรือจ าคุกตามหมายศาล จะปล่อยไปได้ก็เมื่อมีหมาย
                      ปล่อยของศาล  และ มาตรา  92  ห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นหรือค าสั่งของศาล

                      เว้นแต่พนักงานฝ่ายปกครองหรือต ารวจเป็นผู้ค้น และในกรณีดังต่อไปนี้

                                                (1)  เมื่อมีเสียงร้องให้ช่วยมาจากข้างในที่รโหฐาน   หรือมีเสียงหรือ

                      พฤติการณ์อื่นใดอันแสดงได้ว่ามีเหตุร้ายเกิดขึ้นในที่รโหฐานนั้น

                                                (2)   เมื่อปรากฏความผิดซึ่งหน้าก าลังกระท าลงในที่รโหฐาน
                                                (3)   เมื่อบุคคลที่ได้กระท าความผิดซึ่งหน้า ขณะที่ถูกไล่จับหนีเข้าไป

                      หรือมีเหตุอันแน่นแฟ้นควรสงสัยว่าได้เข้าไปซุกซ่อนตัวอยู่ในที่รโหฐานนั้น

                                                (4)   เมื่อมีพยานหลักฐานตามสมควรว่าสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิด

                      หรือได้มาโดยการกระท าความผิด  หรือได้ใช้หรือมีไว้เพื่อจะใช้ในการกระท าความผิด  หรืออาจเป็น

                      พยานหลักฐานพิสูจน์การกระท าความผิดได้ซ่อนหรืออยู่ในนั้น  ประกอบทั้งต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่า
                      เนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายหรือท าลายเสียก่อน

                                                (5)   เมื่อที่รโหฐานนั้นผู้จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้าน


                                                การคุ้มครองสิทธิของประชาชนจากการตรวจค้น ทั้งสถานที่ส่วนบุคคล

                      ยานพาหนะ และบุคคลในสากล และในประเทศไทยมีการวางหลักเกณฑ์และมาตรการในการค้น

                      สถานที่ และการค้นตัวบุคคล ซึ่งเป็นเรื่องที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลในด้านร่างกาย
                      ความเป็นส่วนตัว ทรัพย์สินและเคหสถาน อย่างมาก โดยได้ก าหนดให้ศาลเท่านั้นเป็นผู้มีอ านาจ
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40