Page 42 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 42
31
นั้นแล้ว ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อว่าหลังจากนั้นเมื่อพนักงานสอบสวนได้ถามผู้ต้องหาประการใด
เกี่ยวกับคดีนั้น ผู้ต้องหาจะได้สามารถอธิบายได้ การแจ้งข้อหาในที่นี้จึงควรหมายถึงการแจ้ง
รายละเอียดตามสมควรให้ผู้ต้องหาได้เข้าใจว่าถูกกล่าวว่าไปกระท าความผิดตามข้อเท็ จจริงและ
ข้อกฎหมายอย่างไร เพื่อผู้ต้องหาจะได้สามารถชี้แจงความเป็นมาหรือแก้ข้อกล่าวหาได้ถูกต้อง
2.3.3.4 มาตรการการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาในกระบวนการสอบสวน
1) สิทธิที่จะได้รับการแจ้งสิทธิตามกฎหมายเมื่อถูกด าเนินคดี
มาตรการแจ้งสิทธิตามกฎหมายในต่างประเทศ
นอกจากหลักเกณฑ์ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง
และ สิทธิทางการเมือง ( International Covenant on Civil and Political Rights) ข้อ 14 และ
ตามหลักการขององค์การสหประชาชาติเพื่อการคุ้มครองบุคคลทุกคนที่ถูกคุมขังหรือจ าคุก ( Body
of Principles for the Protection of All Persons under Any Form of Detention or Imprisonment 1988)
ข้อ 13 ก็ระบุหลักเกณฑ์นี้ไว้ว่าเจ้าหน้าที่ผู้ที่จับกุมหรือคุมขังจะต้องอธิบายให้ผู้ถูกจับหรือถูกคุมขัง
นั้นได้ทราบว่าผู้นั้นมีสิทธิตามกฎหมายอย่างไรและจะใช้สิทธินั้นได้อย่างไร
ในประเด็นการแจ้งสิทธิของผู้ต้องหานี้ ประเทศอังกฤษก าหนด
แนวทางปฏิบัติของต ารวจว่าเมื่อผู้เข้ามอบตัวหรือผู้ถูกจับมาถึงสถานีต ารวจ จะต้องได้รับการแจ้ง
ให้ทราบสิทธิสามประการอย่างชัดเจน คือ 1) สิทธิที่จะได้แจ้งให้บุคคลตามความประสงค์ของผู้นั้น
ได้ทราบเกี่ยวกับการถูกจับหรือถูกด าเนินคดีนั้น 2) สิทธิที่จะได้ปรึกษาหารือกับที่ปรึกษากฎหมาย
เป็นการส่วนตัวซึ่งจะต้องมีการจัดให้โดยที่ผู้นั้นไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย 3) สิทธิที่จะได้รับค าแนะน า
เกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติในการด าเนินคดีนั้นตามระเบียบ นอกจากนี้ยังก าหนดให้ต ารวจจะต้อง
เตือนให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาทราบในทุกครั้งที่มีการสอบปากค าว่าผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีสิทธิที่จะ
ไม่ต้องให้การใดๆ แต่หากได้ให้การค าพูดของเขาจะถูกใช้เป็นพยานหลักฐานยันเขาได้นั้น
การสอบปากค าผู้ถูกจับ หรือผู้ต้องหาดังกล่าวมีหลักเกณฑ์บังคับให้ใช้เทปบันทึกเสียง ซึ่งน้ าเสียง
และถ้อยค าที่ปรากฏจากเสียงจริงของพนักงานสอบสวนในการแจ้งสิทธิแก่ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา
และการใช้การของผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาภายหลังจากนั้นอาจสื่อถึงข้อเท็จจริงที่ชัดเจนและตรงกับ
การสอบปากค าจริงมากกว่าการบันทึกตามเอกสารเพียงอย่างเดียว การสอบปากค าในแต่ละครั้ง
ซึ่งกฎหมายก าหนดให้ต้องแจ้งสิทธิต่าง ๆ ให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาได้ทราบก่อนสอบปากค า
โดยเฉพาะสิทธิที่จะไม่ให้การใด ๆ ก็จะได้ปรากฏเป็นหลักฐานในเทปบันทึกเสียงนั้นด้วย ซึ่งจะเป็น
การคุ้มครองสิทธิของบุคคลอย่างเป็นจริงมากกว่าการที่เพียงแต่พิมพ์ในแบบฟอร์มของบันทึก