Page 41 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 41

30


                      ข้อกล่าวหานั้น ดังนั้นโดยสภาพแล้ว ศาลย่อมจะอธิบายถึงข้อกล่าวหาให้ผู้ต้องหาได้ทราบเพื่อ

                      การไต่สวนดังกล่าว

                                                มาตรการของประเทศไทยในการแจ้งข้อกล่าวหา
                                                ตามหลักกฎหมายไทยได้ให้การคุ้มครองสิทธิในการที่จะได้รับการ

                      แจ้งข้อกล่าวหา จากเจ้าหน้าที่ต ารวจ กล่าวคือ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

                                                มาตรา 83 วรรคสอง  บัญญัติว่า “.......ในกรณีที่เจ้าพนักงานเป็นผู้จับ

                      ต้องแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกจับทราบ หากมีหมายจับให้แสดงต่อผู้ถูกจับ........ ” และตามประมวล
                      กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

                                                มาตรา 84 บัญญัติว่า  “เจ้าพนักงานหรือราษฎรผู้ท าการจับต้องเอา

                      ตัวผู้ถูกจับไปยังที่ท าการของพนักงานสอบสวนตามมาตรา 83 โดยทันที และเมื่อถึงที่นั้นแล้ว

                      ให้ส่งตัวผู้ถูกจับแก่เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือต ารวจของที่ท าการของพนักงานสอบสวนดังกล่าว
                      เพื่อด าเนินการดังต่อไปนี้

                                                (1)  ในกรณีที่เจ้าพนักงานเป็นผู้จับให้เจ้าพนักงานผู้จับนั้นแจ้งข้อ

                      กล่าวหาและรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุแห่งการจับให้ผู้ถูกจับทราบ ถ้ามีหมายจับให้แจ้งให้ผู้ถูกจับ

                      ทราบและอ่านให้ฟังและมอบส าเนาบันทึกการจับแก่ผู้ถูกจับนั้น.......”

                                                ตามมาตรการนี้ มีข้อน่าสังเกตว่า นอกจากการก าหนดให้เจ้าหน้าที่
                      ต ารวจผู้จับกุมมีหน้าที่แจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ถูกจับ ในขณะมีการจับกุมตัวตามมาตรา 83 วรรคสอง

                      ครั้งหนึ่ง กับแจ้งข้อกล่าวหาเมื่อส่งตัวผู้ถูกจับมาถึงที่ท าการของพนักงานสอบสวนแล้วตาม

                      มาตรา 84 อีกครั้งหนึ่ง โดยในแจ้งข้อกล่าวหาครั้งหลังนี้เจ้าหน้าที่ต ารวจผู้จับจะต้องมอบส าเนา

                      บันทึกการจับแก่ผู้ถูกจับนั้นด้วย
                                                นอกจากนี้ในชั้นสอบสวนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

                      มาตรา 134 บัญญัติว่า  “เมื่อผู้ต้องหาถูกเรียกหรือส่งตัวมา หรือเข้าหาพนักงานสอบสวนเอง หรือ

                      ปรากฏว่าผู้ใดซึ่งมาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนเป็นผู้ต้องหา ให้ถามชื่อตัว ชื่อรอง ชื่อสกุล

                      สัญชาติ บิดา  มารดา อายุ อาชีพ ที่อยู่ ที่เกิด และแจ้งให้ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระท า
                      ที่กล่าวหาว่าผู้ต้องหาได้กระท าผิด แล้วจึงแจ้งข้อหาให้ทราบ

                                                โดยการแจ้งข้อหาตามวรรคหนึ่ง จะต้องมีหลักฐานตามสมควรว่า

                      ผู้นั้นน่าจะได้กระท าผิดตามข้อหานั้น ซึ่งการที่กฎหมายก าหนดให้พนักงานสอบสวนต้องแจ้งข้อหา

                      แก่ผู้ต้องหา นอกจากเป็นเพราะการที่บุคคลถูกด าเนินคดีอาญาถือเป็นเรื่องที่กระทบต่อสิทธิ

                      เสรีภาพของผู้นั้นอย่างมาก จึงควรต้องทราบเหตุผลเสียก่อนว่า เพราะเหตุใดตนจึงถูกด าเนินคดีอาญา
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46