Page 40 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 40
29
2.3.3.3 มาตรการ การได้รับการแจ้งข้อกล่าวหา
เป็นการคุ้มครองสิทธิอันชอบธรรมของผู้ต้องหา ที่จะได้รับการแจ้งให้
ทราบถึงลักษณะและเหตุแห่งข้อกล่าวหาเพื่อที่ว่าผู้ต้องหาจะได้รู้เหตุผลว่า ต้องมากลายเป็นผู้ถูกจับ
หรือถูกด าเนินคดีอาญาด้วยเหตุอันใด และเพื่อจะได้สามารถชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริงและต่อสู้
คดีแก้ข้อกล่าวหานั้นได้ถูกต้อง
มาตรการของต่างประเทศในการแจ้งข้อกล่าวหา
ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
(International covenant on Civil and Political Rights) ข้อ 14 และ หลักการขององค์การสหประชาชาติ
เพื่อการคุ้มครองบุคคลทุกคนที่ถูกคุมขัง หรือจ าคุก ( Body of Principles for the Protection of All
Persons under Any Form of Detention or Imprisonment 1988) ข้อ 10 ก็ระบุหลักเกณฑ์นี้ไว้ว่า
“ผู้ที่ถูกจับกุมพึงได้รับการแจ้งถึงเหตุผลของการจับกุมและข้อกล่าวหาที่มีต่อผู้นั้นตั้งแต่ในเวลาที่มี
การจับกุม” กล่าวคือ
1) ประเทศสหรัฐอเมริกา ตามหลักกฎหมาย รัฐธรรมนูญแก้ไข
เพิ่มเติมที่ 6 (The Sixth Amendment) ของสหรัฐอเมริกาก าหนดว่า ผู้ต้องหาจะต้องได้รับการแจ้ง
ให้ทราบถึงเหตุผลและลักษณะของข้อหานั้น ดังนั้น การแจ้งแต่เพียงว่าผู้ต้องหาถูกกล่าวหาว่า
กระท าผิดในฐานความผิดอะไรโดยไม่บอกว่า ผู้ต้องหาได้กระท าอะไรและอย่างไรอันท าให้เข้า
องค์ประกอบความผิดฐานนั้นเป็นการแจ้งข้อกล่าวหาที่ไม่สมบูรณ์ เพราะนอกจากเป็นการยากที่
ประชาชนทั่วไปจะเข้าใจถ้อยค ากฎหมายโดยเฉพาะข้อความสั้น ๆ เช่น กรณีที่เจ้าหน้าที่บอกแต่
เพียงแค่ชื่อฐานความผิดนั้น ๆ แล้ว ยังเป็นการยากแก่ผู้ต้องหาที่จะอธิบายชี้แจงโต้แย้งข้อกล่าวหา
นั้น นอกจากนี้การที่เพียงแต่กล่าวถึงถ้อยค าตามบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับความผิดฐาน
นั้นๆ ก็ไม่เป็นการแจ้งข้อกล่าวหาที่สมบูรณ์เช่นกัน หากแต่จะต้องระบุถึงข้อเท็จจริงตามสมควรเพื่อ
แสดงให้เห็นว่าผู้ต้องหาถูกกล่าวหาว่ากระท าความผิดอะไร ซึ่งเป็นสิทธิที่จะได้รับทราบข้อกล่าวหา
นี้ถือเป็นหลักการพื้นฐานของหลักนิติธรรมซึ่งรัฐจะต้องปฏิบัติตาม
2) ประเทศเยอรมัน ตามหลักกฎหมายเยอรมัน ก าหนดว่า ผู้ต้องหา
ถึงได้รับแจ้งให้ทราบถึงเนื้อหาในหมายจับ แต่หากไม่สามารถกระท าได้ก็จะต้องแจ้งข้อหาที่ชัดแจ้ง
แก่ผู้ต้องหาก่อน และหลังจากนั้นจะต้องแจ้งเนื้อหาในหมายจับให้ผู้ต้องหาได้ทราบ นอกจากนี้
จะต้องให้ส าเนาหมายจับแก่ผู้ต้องหาด้วย และโดยที่ต ารวจผู้จับกุมจะต้องน าตัวผู้ต้องหาไปส่งต่อ
ศาลโดยไม่ชักช้า (ไม่เกินกว่าวันถัดจากวันที่จับกุม) เพื่อตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการ
จับกุมดังกล่าวแล้ว กฎหมายจึงได้ก าหนดด้วยว่าให้ศาลไต่สวนผู้ต้องหาเกี่ยวกับประเด็นตาม