Page 33 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 33

22


                      หากไม่พบบุคคลใดก็ให้วางส าเนาหมายค้นไว้ในสถานที่นั้นด้วย การตรวจค้นให้กระท าได้เพียง

                      ภายในขอบเขตที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์ของการออกหมายค้นนั้น และเจ้าหน้าที่ต ารวจผู้ท าการตรวจค้น

                      จะต้องบันทึกรายงานการตรวจค้นดังกล่าวว่าได้พบสิ่งของหรือบุคคลที่ต้องการพบนั้นหรือไม่ และ
                      ได้ตรวจยึดสิ่งใดไว้เป็นหลักฐานหรือไม่ ส่วนกรณีที่เจ้าหน้าที่ต ารวจสามารถค้นในสถานที่ส่วน

                      บุคคลได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นนั้น ได้แก่กรณีที่สัมพันธ์กับการจับกุม โดยเฉพาะกรณีมีการจับกุม

                      บุคคลใดในข้อหาที่เป็นความผิดร้ายแรงประเภทที่กฎหมายระบุไว้ให้จับกุมได้(arrestable  offences)

                      เช่นกรณีบุคคลอายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไปต้องข้อหาว่ากระท าผิดที่มีอัตราโทษจ าคุกได้ตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป

                      เป็นต้น และมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะพบพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระท าผิดในข้อหาที่มี
                      การจับกุมนั้นในสถานที่ที่จะตรวจค้นนั้น โดยการตรวจค้นในกรณีนี้จะต้องได้รับความเห็นชอบเป็น

                      หนังสือจากเจ้าหน้าที่ที่มีต าแหน่งเป็นพนักงานสอบสวนขึ้นไปก่อนและจ ากัดขอบเขตของการตรวจ

                      ค้นในกรณีนี้ว่าเพียงเพื่อพบพยานหลักฐานที่เกี่ยงข้องกับการกระท าผิดในข้อหาที่มีการจับกุมนั้น

                      ในสถานที่ที่จะตรวจค้นนั้นเท่านั้น ในการตรวจค้นก็จะต้องมีการบันทึกรายงานการตรวจค้น

                      เช่นเดียวกันด้วย และไม่ว่ากรณีมีหมายค้นหรือไม่ก็ตาม ก่อนจะท าการตรวจค้นควรจะได้บอกกล่าว
                      เพื่อขออนุญาตผู้ที่อยู่ในสถานที่นั้นเท่าที่จะกระท าได้ด้วย

                                                   1.2)  ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยตามหลักกฎหมายอเมริกัน

                      มีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่ 4 ของสหรัฐอเมริกา(  The  Fourth  Amendment)

                      ซึ่งบัญญัติว่า “ สิทธิของประชาชนในตัวเอง เคหสถาน เอกสาร และทรัพย์สิน ที่จะมีความปลอดภัย
                      จากการตรวจค้นและตรวจยึดโดยมิชอบนั้น จะถูกละเมิดไม่ได้ การออกหมายค้นและยึดนั้นจะกระท า

                      มิได้เว้นแต่โดยมีเหตุผลอันเป็นไปได้ ( probable  cause)  ประกอบด้วยค ารับรองหรือสาบานตน

                      และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องระบุถึงสถานที่ที่จะท าการตรวจค้นและบุคคลหรือสิ่งที่ต้องการจะพบ

                      หรือตรวจยึด” ซึ่งศาลฎีกาสหรัฐอเมริกาได้วางหลักว่าในการค้นสถานที่ส่วนบุคคล จะต้องมีหมาย
                      ค้นของศาล โดยการออกหมายค้นและการด าเนินการในการค้นจะต้องอยู่ในหลักของการมีเหตุผล

                      อันเป็นไปได้ (probable cause) ว่าจะพบพยานหลักฐานที่จะใช้พิสูจน์ความผิดหรือบุคคลที่จะต้อง

                      จับกุมตามหมายจับนั้นโดยใช้หลักของการมีเหตุผลอันเป็นไปได้ดังกล่าวเป็นหลักส าคัญในการ

                      ตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายนั้นเสมอ

                                                   1.3) ประเทศเยอรมัน  หลักกฎหมายเยอรมันก าหนดหลักเกณฑ์
                      การตรวจค้นสถานที่ส่วนบุคคลว่า การตรวจค้นนั้นอาจกระท าได้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจับกุม

                      ผู้กระท าความผิดนั้นหรือมีเหตุอันท าให้สันนิษฐานได้ว่าการตรวจค้นจะท าให้พบพยานหลักฐาน

                      ที่จะใช้ในการด าเนินคดีนั้นหรือเพื่อค้นหาร่องรอยของการกระท าผิดหรือเพื่อยึดสิ่งของที่จะต้องยึด
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38