Page 30 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 30
19
มาตรา 40 บัญญัติว่า “ บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรมดังต่อไปนี้
(1) มีสิทธิเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง
(2) สิทธิพื้นฐานในกระบวนพิจารณา ซึ่งอย่างน้อยต้องมีหลักประกัน
ขั้นพื้นฐานเรื่องการได้รับการพิจารณาโดยเปิดเผย การได้รับทราบข้อเท็จจริง และตรวจเอกสาร
อย่างเพียงพอ การเสนอข้อเท็จจริง ข้อโต้แย้ง และพยานหลักฐานของตน การคัดค้านผู้พิพากษา
หรือตุลาการ การได้รับการพิจารณาโดยผู้พิพากษาหรือตุลาการที่นั่งพิจารณาครบองค์คณะ และ
การได้รับทราบเหตุผล ประกอบค าวินิจฉัย ค าพิพากษา หรือค าสั่ง
(3) บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะให้คดีของตนได้รับการพิจารณาอย่างถูกต้อง
รวดเร็ว และเป็นธรรม
(4) ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา โจทก์ จ าเลย คู่กรณี ผู้มีส่วนได้เสีย หรือพยาน
ในคดีมีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในการด าเนินการตามกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งสิทธิใน
การได้รับการสอบสวนอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม และการไม่ให้ถ้อยค าเป็นปฎิปักษ์ต่อตนเอง
(5) ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จ าเลย และพยานในคดีอาญา มีสิทธิได้รับ
ความคุ้มครอง และความช่วยเหลือที่จ าเป็นและเหมาะสมจากรัฐ ส่วนค่าตอบแทน ค่าทดแทน
และค่าใช้จ่ายที่จ าเป็น ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
(6) เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ หรือผู้ทุพลภาพ ย่อมมีสิทธิ
ได้รับความคุ้มครองในการด าเนินกระบวนพิจารณาคดีอย่างเหมาะสม และย่อมมีสิทธิได้รับการปฏิบัติ
ที่เหมาะสมในคดีที่เกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ
(7) ในคดีอาญา ผู้ต้องหาหรือจ าเลย มีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือ
การพิจารณาคดีที่ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม โอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเพียงพอ การตรวจสอบ
หรือได้รับทราบพยานหลักฐานตามสมควร การได้รับความช่วยเหลือในทางคดีจากทนายความ
และการได้รับการปล่อยชั่วคราว
(8) ในคดีแพ่ง บุคคลมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายอย่าง
เหมาะสมจากรัฐ”