Page 31 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 31
20
2.3.3 มาตรการทางกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
นอกจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จะได้ประกันสิทธิของพลเมืองแล้ว
ยังมีการก าหนดขอบเขตการใช้อ านาจของเจ้าหน้าที่ต ารวจ อาทิ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญา ที่ให้การคุ้มครอง สิทธิ เสรีภาพของประชาชน จากการปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่
ในกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ต ารวจ ที่มีหน้าที่ ที่ต้องปฏิบัติเกี่ยวข้องกับการอ านวย
ความยุติธรรมเบื้องต้นให้กับ ประชาชน โดยการรักษาความสงบ ความเรียบร้อยของสังคม ควบคุม
อาชญากรรม ในภาระงานดังกล่าวนี้ บางส่วนอาจไปกระทบกับ สิทธิ เสรีภาพของประชาชน อาทิ
การสืบสวน หาข้อเท็จจริง ตลอดจนการตรวจค้น เพื่อหาพยานหลักฐาน เพื่อน าไปสู่จับกุมผู้กระท า
ความผิด จนไปถึงการสอบสวน การควบคุมตัว เป็นต้น ซึ่งจ าเป็นต้องมี มาตรการทางกฎหมาย
เพื่อจ ากัดการใช้อ านาจให้อยู่ในกรอบ ตามหลักเหตุผล และให้มีการปฏิบัติอย่างเหมาะสม
ซึ่งคณะผู้วิจัยได้ทบทวนมาตรการ ทางกฎหมายที่ให้หลักประกัน ในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
(อ้างใน ชาติ ชัยเดชสุริยะ ,2549) .ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ต ารวจ
ประกอบกับประเด็นการ ร้องเรียน จากรายงานเรื่องร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในกระบวนการ
ยุติธรรมมายังส านักงานคณะกรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งมีการร้องเรียนการถูกละเมิดสิทธิ
มนุษยชนจากเจ้าหน้าที่ต ารวจในประเด็นดังต่อไปนี้
1) การถูกตรวจค้น
2) การถูกจับกุม คุมขัง
3) การไม่ได้รับการแจ้งข้อกล่าวหา
4) การไม่ได้การแจ้งสิทธิ จากเจ้าหน้าที่
5) การสอบสวนที่ไม่เป็นธรรม
6) การท าร้าย และการทารุณกรรม และการถูกวิสามัญฆาตกรรมจากเจ้าหน้าที่
7) การไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว
โดยประเด็นข้างต้น ในระดับสากลและตามกฎหมายไทยได้วางหลักเกณฑ์ใน
การให้ความคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของประชาชนจากการปฎิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที้ตามมาตรการ
ดังต่อไปนี้
2.3.3.1 มาตรการในการตรวจค้น
การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ต ารวจในการแสวงหาพยานหลักฐาน
เพื่อพิสูจน์หาผู้กระท าผิด โดยการตรวจค้น ทั้งการตรวจค้นสถานที่ ยานพาหนะ บุคคล ถือว่าเป็น