Page 29 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 29
18
ข้อ 29 (1) ทุกคนมีหน้าที่ต่อประชาคม ด้วยการพัฒนาต่อบุคลิกภาพของตน
โดยอิสรภาพเต็มที่ จะกระท าได้ก็แค่ประชาคมเท่านั้น
(2) ในการใช้สิทธิและอิสรภาพแห่งตน ทุกคนตกอยู่ในบังคับของ
ข้อจ ากัด เพียงเท่าที่ได้ก าหนดลงโดยกฎหมายเท่านั้น เพื่อประโยชน์ที่ได้มาซึ่งการนับถือ และ
เคารพสิทธิและอิสรภาพของผู้อื่นตามสมควรและที่จะเผชิญกับความเรียกร้องต้องการอันเที่ยง
ธรรมของศีลธรรม ความสงบเรียบร้อยของประชาชน และสวัสดิการทั่วไปในสังคมประชาธิปไตย
(3) สิทธิและอิสรภาพเหล่านี้ จะใช้ขัดต่อวัตถุประสงค์และหลักการ
ของสหประชาชาติไม่ได้ว่าในกรณีใด ๆ
ข้อ 30 ไม่มีบทใด ในปฏิญญานี้ที่จะอนุมานว่าให้สิทธิใด ๆ แก่รัฐ หมู่คน หรือ
บุคคล ในอันที่จะด าเนินกิจกรรมใด ๆ หรือปฏิบัติการใด ๆ อันมุ่งต่อการท าลายสิทธิและอิสรภาพ
ดังก าหนดไว้ ณ ที่นี้
2.3.2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรม จากการ
วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความคุ้มครอง สิทธิ เสรีภาพของประชาชน ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 และการให้คุ้มครองสิทธิมนุษยชน ตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ที่ได้ให้หลักประกันในการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของประชาชน
โดยเจ้าหน้าที่ต ารวจจะต้องมุ่งที่จะท าการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เป็นหลักในการปฏิบัติ ส่วนการ
บังคับใช้ บทบัญญัติของกฎหมายถือว่าเป็นข้อยกเว้นที่เจ้าพนักงานจะใช้อ านาจตามที่กฎหมาย
บัญญัติไว้ ต่อเมื่อมีความจ าเป็นอย่างยิ่งเท่านั้น ซึ่งจะได้เป็นหลักประกันต่อการคุ้มครองสิทธิ
มนุษยชน ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ได้ก าหนดถึง สิทธิในกระบวนการ
ยุติธรรมไว้ดังนี้
มาตรา 39 บัญญัติว่า “บุคคลไม่ต้องรับโทษทางอาญา เว้นแต่ได้กระท าการ
อันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระท านั้นบัญญัติเป็นความผิดและก าหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่
บุคคลนั้น จะหนักกว่าโทษที่ก าหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลากระท าความผิดมิได้
ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจ าเลยไม่มีความผิด
ก่อนมีค าพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระท าความผิด จะปฏิบัติต่อ
บุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระท าความผิดมิได้”