Page 74 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 74

๖๕
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”




                  เป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย เราจะเปิดพื้นที่ให้ชัดเจนได้อย่างไรว่า เพราะต่อไปผู้คนและ

                  พื้นที่ชายแดนจะเปลี่ยนจากเรื่องความขัดแย้ง การสู้รบ เป็นเรื่องของความร่วมมือทางเศรษฐกิจมากขึ้น

                  ทหารไม่จ าเป็นต้องออกหน้ารับแบกรับปัญหาแต่เพียงคนเดียวต่อไปอีกแล้ว ผู้ลี้ภัยไม่ใช่ศัตรูของความ

                  มั่นคง  การจัดการตรงนี้จะเป็นการมองอย่างรอบด้าน และค านึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนเป็นส าคัญ ”



                  ๓.๖ ความคิดเห็นของหน่วยงานของรัฐและองค์กรภาคประชาสังคมต่อผลการวิจัย


                         จากการจัดเวทีสัมมนาเพื่อน าเสนอผลการวิจัย ต่อผู้แทนหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง องค์กรพัฒนา

                  เอกชน และองค์กรระหว่างประเทศด้านผู้ลี้ภัย เมื่อวันที่ ๒  เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕    ณ ห้อง ๗๐๙

                  ส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ อาคารศูนย์ราชการ ผู้แทนของหน่วยงานดังกล่าวได้แสดง

                  ความคิดเห็นต่อผลการวิจัยดังนี้



                  ผู้แทนสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)


                         ผู้แทนสภาความมั่นคงแห่งชาติกล่าวว่า แม้ว่าประเทศไทยไม่ได้เข้าเป็นประเทศภาคีอนุสัญญาว่า

                  ด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ.๑๙๕๑  ก็ตาม แต่ประเทศไทยมีนโยบายต่อผู้ลี้ภัยหลบหนีเข้าเมืองโดย

                  พยายามแยกแยะวัตถุประสงค์ของผู้ที่เดินทางเข้าสู่ประเทศไทยว่าเป็นอย่างไร ส าหรับบุคคลสัญชาติพม่า

                  ที่มีฐานะเป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย ทางการไทยผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นการ


                  ชั่วคราวตามหลักมนุษยธรรม โดยให้อาศัยอยู่ในพื้นที่พักพิงชั่วคราว ๙  พื้นที่ ๔  จังหวัด คือ แม่ฮ่องสอน

                  ตาก กาญจนบุรี และราชบุรี  แต่ต้องเดินทางกลับสู่มาตุภูมิเมื่อสถานการณ์เอื้ออ านวย ซึ่งประเทศไทย

                  รับภาระนี้มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๗  ปัจจุบันมีผู้ลี้ภัยประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ กว่าคน

                         ส าหรับผลการศึกษาตามข้อเสนอแนะต่อประเทศไทยทั้งหมด ๑๒  ข้อ ที่อยู่ในรายงานการวิจัย

                  สมช. ได้ด าเนินการตามข้อเสนอแนะแล้ว ๗ ข้อ ได้แก่ข้อ ๓, ๔,  ๕, ๖, ๗, ๙, และ ๑๑ มีข้อสังเกตจาก


                  รายงานการศึกษาวิจัยท าให้สามารถแบ่งผู้ลี้ภัยออกได้เป็น ๔ ประเภท ๑) หนีภัยจากการสู้รบตั้งแต่เก่าอยู่

                  ในศูนย์/นอกศูนย์ ๒) หนีภัยเป็นครั้งคราว ๓) เข้ามาท างาน และ๔) อยู่กับญาติ


                  ผู้แทนกระทรวงกลาโหม


                         ผู้แทนกระทรวงกลาโหมกล่าวว่า โดยหลักการ กระทรวงกลาโหมท าหน้าที่เป็นหน่วยสนับสนุน

                  มากกว่ารับผิดชอบโดยตรง เพราะมีกระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลัก ถ้ามีผู้อพยพเข้ามาแล้ว ทหาร
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79