Page 72 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 72

๖๓
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”




                         ฉะนั้นเราคงต้องมีการาตัดสินใจในเชิงของท่าที ซึ่งในเรื่องของการที่จะเข้าไปเป็นภาคีสมาชิกนี้

                  นอกเหนือไปจากที่จะปล่อยให้ผู้ก าหนดนโยบายเพียงไม่กี่ท่านก าหนดท่าทีตรงนี้ คิดว่าการที่เรามีส่วนร่วม


                  ของภาคประชาสังคม หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานที่เป็นฝ่ายปฏิบัติเอง ก็คงจะสะท้อนให้

                  เห็นถึงปัญหาและช่องว่างที่มีอยู่ และโอกาสในการที่จะใช้กลไกทางกฎหมายดังกล่าวในการช่วยเราให้

                  ท างานอย่างเป็นระบบ และสามารถที่จะมีค าอธิบายกับประชาคมโลกได้ในมาตรฐานเดียวกัน


                         “จากที่เคยแลกเปลี่ยนมาหลายเวที มักจะเข้าใจว่าถ้าเราเข้าไปเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ค.ศ. ๑๙๕๑


                  เราจะต้องปฏิบัติกับผู้ลี้ภัยกลุ่มนี้ดีกว่าปัจจุบัน และจะต้องมีผู้ลี้ภัยเข้ามาในประเทศไทยมากกว่าที่เป็นอยู่

                  ในปัจจุบัน การพิจารณาสถานภาพผู้ลี้ภัยตามอนุสัญญา ซึ่ง ณ ช่วงนั้น UNHCR ยังเป็นผู้พิจารณาผู้ลี้ภัย

                  จากประเทศเมียนมาร์อยู่ อัตราการรับเข้าเป็นผู้ลี้ภัยตามอนุสัญญาฯ ค.ศ. ๑๙๕๑  นั้น น้อยกว่าร้อยละ

                  ๑๐ หมายความว่า ถ้าเปรียบเทียบระหว่างผู้ลี้ภัย ถ้ายิงกัน หนีออกมา ๑๐,๐๐๐ คนเกณฑ์ของเรา ๆ รับ

                  หมด ๑๐,๐๐๐  คน แต่เกณฑ์ของกฎหมายระหว่างยิงกัน หนีออกมา ๑๐,๐๐๐  คน พิจารณาเป็น

                  รายบุคคลว่า  มีใครบ้างที่กลับไปไม่ได้  เช่น กรณีนักศึกษาพม่าที่ต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า และอยู่ในกลุ่ม


                  ที่เข้ามาด้วย ๑๐,๐๐๐  คน ถ้ากลับไปถูกจับแน่นอน คน ๆ นี้ถึงจะได้เป็นผู้ลี้ภัยตามอนุสัญญาฯ ค.ศ.

                  ๑๙๕๑  แต่ถ้าเป็นชาวบ้านโดยทั่วไปไม่ได้ถูกเพ็งเล็งเป็นเป้ าหมายก็จะไม่เข้าตามอนุสัญญา ถ้า

                  สถานการณ์สงบก็สามารถกลับไปได้ แต่ถ้าใช้เกณฑ์ของไทยรับมา ๑๐,๐๐๐ คนก็อยู่อย่างนั้นไปเลย ๒๗

                  ปี ซึ่งตรงนี้เป็นประเด็นที่น่าสนใจอยู่เหมือนกัน”



                         รศ. สมชาย  ปรีชาศิลปกุล อาจารย์ประจ าคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ถ้า

                  สถานการณ์เปลี่ยนเข้าสู่สังคมอาเซียน อาจจะท าให้ผู้ลี้ภัยน้อยลง แต่เปลี่ยนไปเป็นแรงงานเพิ่มขึ้น เราจะ

                  เผชิญและจัดการกับเรื่องนี้อย่างไร สิ่งที่เราต้องคิดถึง คือ ต้องท าให้ให้เกิดการยอมรับ และมองเห็นปัญหา

                  ว่าตอนนี้เป็นยังไงอยู่  ปัญหาเรื่องนี้เกิดขึ้นจาก (๑) มุมมองผู้ปฏิบัติ (๒) มุมมองระดับสากล คือ ผู้ที่ไป

                  ตอบ ๆ ไม่ได้ เพราะว่าแนวทางปฏิบัติท าอยู่ภายใต้แนวนโยบายสภาความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งไปตอบอะไร

                  ที่เป็นสากลไม่ได้



                         ถ้าหากว่าอยากจะผลักดันเรื่องอนุสัญญา เราต้องความเข้าใจว่าอนุสัญญาฉบับนี้พยายามท าให้

                  เกิดการปฏิบัติงานที่มีระบบเพิ่มมากขึ้น และท าให้เห็นภาพว่าอนุสัญญาฉบับนี้ไม่ใช่เป็นการจับผิด แต่

                  เป็นประโยชน์ เข้าใจว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องเป็นหน่วยงานที่ท าหน้าที่ชี้แจงเรื่องนี้ต่อ UN ให้ชัดเจน
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77