Page 79 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 79
๗๐
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
ผู้แทนส านักงานตรวจคนเข้าเมือง
ผู้แทนส านักงานตรวจคนเข้าเมืองกล่าวว่า ส านักงานฯ ไม่ได้มีอ านาจในการก าหนดนโยบายใด ๆ
ทั้งสิ้น เรื่องแรงงานต่างด้าวมีคณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวโดยนายกรัฐมนตรีมอบให้รัฐมนตรีเป็น
ประธาน (กปร.) มีอยู่ ๘ คณะอนุกรรมการ เป็นมติของ ครม. เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๓ คือ ผ่อนผันการด าเนินคดี
แก่คนต่างด้าว และผู้หลบหนีเข้าเมือง โดยให้ผลักดันส่งกลับ
ส าหรับข้อเสนอแนะของงานวิจัยนี้เป็นหลักที่ดี แต่ว่าต้องแยกกลุ่มประเภทให้ชัดเจนก่อน เช่น
กลุ่มผู้ลี้ภัย เจตนาบริสุทธิ์คือต้องด าเนินการกับเขาด้วยวิธีการที่ดีที่สุด แต่โดยพื้นฐานแล้วมนุษย์ย่อม
ต้องการดิ้นรน หรือแสวงหาสิ่งที่ดีกว่า เขาจะเล็ดรอดออกมาเพื่อลักลอบเข้ามาท างาน อันนี้จะเป็นปัญหา
คือ เมื่อออกมาท างาน ในมิติของผู้รักษากฎหมายก็ต้องด าเนินคดีตามกฎหมาย และผลักดันกลับตาม
พ.ร.บ. คนเข้าเมือง อันนี้เป็นแนวทางปฏิบัติว่าถ้าพบผู้หลบหนีเข้าเมือง เช่น ค้าแรงงาน หน่วยงานที่
รับผิดชอบก็ต้องปฏิบัติตามหน้าที่
ผู้แทน Asia Pacific Refugee Rights Network (APRRN)
ผู้แทนของ APRRN กล่าวว่า ข้อเสนอแนะของการวิจัย ในฐานะที่เป็นองค์กรของผู้ลี้ภัยในประเทศ
ก็เห็นด้วย เนื่องจากถ้าดูตามหลักแล้วจะเห็นหลักใหญ่ ๆ คือ Non- refoulement หลักการไม่ผลักดันกลับ
ก็มีความส าคัญมาก เพราะทางประเทศไทยก็เคารพเรื่องสิทธิมนุษยชนมาตลอด จะดีไปกว่านี้ถ้าเราจะไม่
ผลักดันคนเหล่านี้กลับไปสู่อันตราย และถ้าเป็นไปได้เราต้องดูประเทศต้นทาง หรือพม่าให้ชัดก่อนว่า
เมื่อคนเหล่านี้กลับไปแล้วไม่มีอันตรายแน่นอน ซึ่งทุกคนก็ทราบดีว่าขณะนี้พม่ามีการเปลี่ยนแปลง หรือ
พัฒนาไปในทางที่ดีก็จริง แต่ว่าเมื่อมองเข้าไปลึก ๆ ประเทศเมียนมาร์ก็ยังมีรัฐย่อย ๆ ที่แยกกันอยู่และเห็น
ด้วยกับ IOM ที่เสนอเรื่องการจัดการผู้ลี้ภัย เป็นสิ่งที่ส าคัญมาก และให้ประโยชน์กับทางภาครัฐของไทย
ด้วย ถ้าเราสามารถที่จะลงทะเบียนคนเหล่านี้ทั้งหมด ก็จะช่วยเอื้อประโยชน์กับตัวบุคคล และภาครัฐด้วย
ที่ส าคัญที่สุดจะเป็นเรื่องของสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ก็ขอให้ประเทศไทยท าเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ