Page 76 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 76

๖๗
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”




                  ผู้แทนส านักงานตรวจคนเข้าเมือง


                         ผู้แทนส านักงานตรวจคนเข้าเมืองกล่าวว่า ข้อเสนอแนะข้อที่ ๒  “เห็นควรแก้ไข พ.ร.บ. คนเข้า

                  เมือง พ.ศ. ๒๕๒๒”  อยากขอให้แบ่งประเภทก่อน ในฐานะมุมมองในมิติของผู้รักษากฎหมาย การปฏิบัติ

                  ตาม พ.ร.บ. คนเข้าเมือง จะด าเนินการกับผู้ที่ท าผิดกฎหมาย แต่ในกรณีผู้ลี้ภัยจะถือตามกรอบของ สมช.

                  ที่ก าหนดบทบาทหน้าที่ แต่กรณีการผลักดันส่งกลับผู้กระท าผิดกฎหมาย กฎหมายให้อ านาจเจ้าหน้าที่


                  ตม. ในการผลักดันกลับก็จริง แต่ก็ไม่ได้ละเลยเรื่องสิทธิมนุษยชนที่ให้ค านึงถึงความปลอดภัยของผู้ถูก

                  ส่งกลับด้วย แต่ผู้ลี้ภัยเป็นเรื่องละเอียดอ่อน พ.ร.บ. คนเข้าเมืองแทบจะไม่ได้น ามาใช้ ซึ่งจะเป็นเรื่องของ

                  นโยบายล้วน ๆ ที่บูรณาการการท างานร่วมกัน


                  ผู้แทนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์



                         ผู้แทนกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ กล่าวว่า โดยภารกิจกระทรวงฯ ไม่ได้เข้าไปช่วยเหลือผู้ลี้ภัยที่

                  อยู่ในศูนย์ แต่จะเกี่ยวข้องในลักษณะแรงงานต่างด้าว หรือคนที่อพยพเข้ามาแล้วหลุดรอดไปอยู่ใน

                  ตลาดแรงงาน กระทรวงฯ จะเข้าไปเกี่ยวข้องในกลุ่มนี้มากกว่า ส่วนผู้ลี้ภัยจากสงครามไม่ได้เข้าร่วม

                  ด าเนินการด้วย



                         ส าหรับข้อเสนอแนะ ๑๒  ข้อจากงานวิจัย ก็คิดว่าไม่ใช่หน้าที่ภารกิจโดยตรงของกระทรวงฯ แต่

                  เท่าที่ทราบภารกิจของกระทรวง คือ ถ้าเป็นกลุ่มที่อยู่นอกศูนย์พักพิงจะมีหน่วยงานที่อยู่ในระดับภูมิภาค

                  คือ ส านักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด หรือ พมจ. ก็จะมีการให้ความช่วยเหลือ

                  เบื้องต้น แต่ถ้าให้ความช่วยเหลือครอบคลุมทั้งหมดคงอาจจะกระท าได้ไม่ทั่ว



                  ผู้แทนข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยองค์การสหประชาชาติ (UNHCR)


                         ผู้แทนของ UNHCR  กล่าวว่า บทบาทหลัก คือ สนับสนุนรัฐบาลไทยในการคุ้มครอง และหาทาง

                  แก้ไขปัญหาถาวรส าหรับผู้ลี้ภัยในประเทศไทย ซึ่งก็ด าเนินงานร่วมกับรัฐบาลไทยมาตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๙๙

                  โดยมีหลักการ Non- refoulement เป็นหลักการเบื้องต้นของหน่วยงานอยู่แล้ว



                         ข้อสังเกตต่องานวิจัยคือ  ครั้งแรกที่ตั้งโจทย์จากการได้รับเรื่องร้องเรียนอาจจะเป็นเพราะมาจาก

                  คนกลุ่มหนึ่ง แต่จริง ๆ แล้วพอทีมวิจัยได้ท างานก็จะพบอีกหลาย ๆ ปมที่เป็นปัญหา และมีความเกี่ยวพัน

                  กันอยู่ ซึ่งก็คิดว่าไม่ใช่งานที่ง่าย ดังนั้น พอมีหลายกลุ่ม วิธีการด าเนินการ กรอบกฎหมายของหน่วยงาน
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81