Page 77 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 77

๖๘
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”



                  ต่าง ๆ ที่เข้าไปท างานก็จะมีความแตกต่างกันไปด้วย เช่น สิทธิพื้นฐาน กฎหมาย ฯลฯ ท าให้ข้อจ ากัด

                  หลาย ๆ เรื่องก็แตกต่างกันไป ซึ่งท าให้การท างานเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย นอกจากหลาย ๆ กลุ่มที่มาเกี่ยวพัน

                  แล้ว อาจจะมีช่วงสถานการณ์ที่ต่างกันออกไป ก็จะเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ต้องมีวิธีการด าเนินการอีกอย่าง

                  หนึ่ง รวมถึงการเตรียมพร้อมเมื่อสถานการณ์เรียบร้อยแล้วจะท าอย่างไร ก็อยากให้เห็นความสลับซับซ้อน

                  ของประเด็น และเข้าใจว่าทุก ๆ ฝ่ายก็อ้างอิงหลักการ  มาตรฐานสากลระหว่างประเทศ ก็น่าจะด าเนินการ


                  ให้ได้เป็นไปตามนั้น แต่รายละเอียดเรื่องของ การด าเนินการ ข้อจ ากัด กฎหมายก็แตกต่างกันไป อาจจะ

                  ต้องมาดูเป็นกลุ่ม ๆ ย่อย ๆ หรือไม่

                         ส าหรับข้อเสนอแนะจากงานวิจัยนี้ ควรน าไปสู่การปฏิบัติ โดยให้ขั้นตอนมีความชัดเจน เพื่อสร้าง

                  ความสบายใจให้กับผู้ปฏิบัติด้วย เพราะหลาย ๆ เรื่องนโยบายมีความชัดเจน แต่พอตกไปถึงระดับปฏิบัติ

                  จริง ๆ อาจจะเกิดความไม่แน่ใจ อาจเป็นเรื่องเล็ก แต่เป็นปัญหาที่ใหญ่มาก จะท าให้ไม่สามารถ


                  ด าเนินการขับเคลื่อนได้เท่าที่ควร


                  ผู้แทน International Organization for Migration (IOM)


                         ผู้แทนของ IOM  กล่าวว่า อยากจะให้มีการบริหารจัดการประชากรข้ามชาติแบบองค์รวมไป


                  พร้อม ๆ กันหลาย ๆ กลุ่ม และควรจะมีการจดทะเบียนคนที่อยู่ในประเทศไทยทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะอยู่ใน

                  แคมป์  หรือนอกแคมป์  โดยท าให้เป็นระบบเพื่อให้รู้ว่าใครเป็นใคร เพื่อให้สามารถจัดการเรื่องปัญหาการ

                  เข้าเมืองผิดกฎหมาย และให้ความคุ้มครองสิทธิในหลาย ๆ กลุ่มได้


                  ผู้แทนสภาทนายความ


                         ผู้แทนสภาทนายความกล่าวว่า เมื่อดูรายงานการวิจัยหน้าที่ ๑๖  มีค าพิพากษาฎีกาที่ ๘๗๓/


                  ๒๕๒๓ ในคดีนี้ ผู้ร้องเป็นสามีนางแบ๋ เหวี่ยนถี่ นางแบ๋ เป็นผู้มีเชื้อสายญวน สัญชาติญวน ไม่ปรากฏใบ

                  ต่างด้าวหรือใบส าคัญแสดงถิ่นที่อยู่ ถูกฟ้ องในข้อหาฆ่ากระบือโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลชั้นต้นไต่สวน

                  แล้ววินิจฉัยว่าผิดจริง ศาลพิพากษาปรับฐานฆ่ากระบือโดยไม่ได้รับอนุญาต และนางแบ๋ได้ช าระค่าปรับ

                  แล้ว แต่พนักงานตรวจคนเข้าเมืองได้รับตัวนางแบ๋ไปควบคุมต่อเพื่อรอส่งกลับไปนอกราชอาณาจักรตาม

                  ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ศาลได้กล่าวถึงความเป็นต่างด้าวที่อยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต


                  ของนางแบ๋ ซึ่งตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.๒๔๙๓ มาตรา ๓๓,๓๘ ได้บัญญัติให้อ านาจ

                  พนักงานเจ้าหน้าที่ในการฝากกักนางแบ๋ซึ่งเป็นต่างด้าวเข้าซึ่งอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตไว้
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82