Page 71 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 71

๖๒
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”




                  กฎหมายระหว่างประเทศอย่างแน่นอน ซึ่งตรงนี้จะมีผลตามต่อมาในภาพลักษณ์ของไทยในประชาคมโลก

                  ยกตัวอย่างล่าสุด จากผลกระทบที่ประเทศไทยเรามีปัญหาในเรื่องของการค้ามนุษย์ หรือการฟอกเงิน


                  ประเทศไทยเราก็ประสบปัญหาเพราะว่าถูกจัดอยู่ในอันดับที่มีความเสี่ยงที่จะต้องถูกจับตามองในเรื่อง

                  ของการฟอกเงิน ตรงนี้ก็ท าให้ในเวทีโลก เราท าอะไรได้ล าบาก


                         ซึ่งปัญหาของการค้ามนุษย์นั้น ในส่วนของผู้แทนสหประชาชาติก็ได้บอกว่า “ในกลุ่มที่เป็นปัญหา

                  คือ ผู้ลี้ภัยจากการสู้รบ และผู้ลี้ภัยที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะถูกค้ามนุษย์ด้วยเหมือนกัน” ฉะนั้นในการบริหาร


                  จัดการดังกล่าวซึ่งเราใช้อ านาจทางฝั่งบริหารในการจัดการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าก็ท าให้เราประสบ

                  ปัญหาในเรื่องของการจัดการอย่างเป็นระบบ นอกเหนือไปจากนั้นเอง การที่ไทยเราเข้ามาดูแลในเรื่องการ

                  ลี้ภัยจากาการสู้รบก็มีข้อท้วงติงจากประเทศต้นทางอยู่เนื่อง ๆ ว่าเราได้ให้ความช่วยเหลือกับกลุ่ม

                  การเมือง



                         ด้วยเหตุนี้เองกฎหมายระหว่างประเทศจึงก าหนดไว้ว่า “การที่ประเทศรัฐสมาชิกจะเข้าไปให้การ

                  ช่วยเหลือกับคนที่เข้าไปขอลี้ภัยในประเทศของตนเองนั้น เป็นการให้ความช่วยเหลือตามหลักสิทธิ

                  มนุษยชน และหลักมนุษยธรรม จึงไม่เป็นการให้ความช่วยเหลือในเชิงที่จะมองว่าเป็นศัตรู” ดังนั้นหากว่า

                  ประเทศไทยเราเป็นภาคีในตัวอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพของผู้ลี้ภัย มีคนที่หนีตายเข้ามาในประเทศไทย

                  เราให้ความช่วยเหลือ เราก็สามารถที่จะอธิบายกับประเทศต้นทางได้ว่า “เราไม่ได้เลือกข้างที่จะไปช่วยคน

                  อีกข้างหนึ่งที่ไม่ใช่รัฐบาล แต่เราท าด้วยหน้าที่ของเราในฐานะที่เป็นรัฐสมาชิกของ UN และก็เป็นประเทศ


                  ที่เป็นสมาชิกของตัวอนุสัญญาเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย” ตรงนี้ก็สามารถที่จะอธิบายในทางรัฐศาสตร์ระหว่าง

                  ประเทศ


                         การที่เราจะพิจารณาตัวอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพของผู้ลี้ภัยอย่างที่มันเป็น ไม่ได้เป็นอคติที่มี

                  อยู่กับตัวอนุสัญญา แต่เราดูว่ากฎหมายฉบับนี้จะเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการประเด็นปัญหา ซึ่ง


                  ประเทศไทยนั้นประสบมากว่า ๔๐  ปี และเป็นประเด็นที่ประเทศไทยถูกท้วงติงโดยสหประชาชาติ และ

                  ประชาคมโลกมาโดยตลอด ถ้าหากว่าเราสามารถที่จะใช้กฎหมายฉบับเดียวกันกับที่ประชาคมโลกใช้ใน

                  การบริหารจัดการประเด็นปัญหาซึ่งเรามีอยู่ และถ้าหากว่าปัญหาที่จะเกิดขึ้นต่อไปในประเทศเมียนมาร์

                  ถึงแม้ว่าเราจะมีความหวังว่าไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าหากว่าเป็นปัญหาก็คงต้องมีคนเข้ามาอีก และเราก็คง

                  ต้องถูกท้วงติงในประเด็นปัญหานี้อีก
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76