Page 75 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 75

๖๖
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”



                  ก็ปฏิบัติตามนโยบาย ในวิธีคิดของผู้ปฏิบัติก็จะคิดเรื่องของสิทธิมนุษยชนเป็นหลักอยู่แล้ว โดยให้การดูแล

                  อย่างต่อเนื่อง กระทรวงฯ ก็พร้อมที่จะปฏิบัติตามนโยบายจาก สมช. หรือรัฐบาลที่ให้มา ส าหรับ

                  ข้อเสนอแนะในงานวิจัยก็เป็นข้อเสนอแนะที่ดี ซึ่งก็พร้อมที่จะปฏิบัติตามนโยบาย



                  ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย


                         ผู้แทนกระทรวงมหาดไทยกล่าวว่า  รับกรอบจากสภาความมั่นคงแห่งชาติ และก็ค านึงถึงผู้ลี้ภัยที่

                  เข้ามาตามหลักการ และหลักเกณฑ์ และมาอยู่ในพื้นที่พักพิงทั้ง ๙  แห่ง เฉพาะพวกที่เข้ามาอยู่ในแคมป์

                  ปัจจุบันมีการผ่อนปรนมากในทุก ๆ ด้าน เช่น การออกไปท างานนอกพื้นที่พักพิง โดยค านึงถึงสิทธิ

                  มนุษยชนเป็นหลัก  คิดว่าอนาคตก็ให้ความช่วยเหลือในทุกด้านอยู่แล้ว เพราะอยู่ด้วยกันมา ๒๐-๓๐  ปี


                  เหมือนกับเป็นญาติพี่น้องกัน  และเห็นด้วยต่อข้อเสนอแนะของรายงานวิจัยแทบทุกข้อ


                  ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ


                         ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า  มิติของต่างประเทศ ทางประชาคมระหว่างประเทศ

                  ตระหนักดีถึงภาระของรัฐบาลไทยที่แบกภาระมานานมากว่า ๓๐  ปี ที่ต้องดูแลผู้ลี้ภัยจากการสู้รบ แม้ว่า

                  จะไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ เป็นที่ทราบดีว่าตอนนี้พม่ามีพัฒนาการ


                  ทางการเมืองที่ดีขึ้นมาก และประเทศผู้บริจาค เช่น สหภาพยุโรปก็ก าลังมีการพิจารณานโยบายเรื่องการ

                  ด าเนินการต่อพม่า ที่ส าคัญ คือ ความช่วยเหลือจากต่างประเทศต่อผู้ลี้ภัยจากการสู้รบก็ยังคงอยู่เช่นเดิม

                  เพราะนานาประเทศก็เห็นความส าคัญ และให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยชน ที่ส าคัญ คือ งบประมาณ

                  เพื่อช่วยดูแลผู้ลี้ภัย ส าหรับข้อเสนอแนะข้อที่ ๖ ไม่ใช่ข้อเสนอใหม่ เพราะทางกระทรวงการต่างประเทศได้

                  แจ้งให้ประชาคมระหว่างประเทศทราบว่า เราพร้อมที่จะพัฒนาศักยภาพของผู้ลี้ภัยจากการสู้รบ เนื่องจาก


                  ผู้ลี้ภัยจาการสู้รบเหล่านี้จะเป็นทรัพยากรส าคัญของพม่าในการกลับไปสร้างเศรษฐกิจของประเทศเขาเอง

                  ดังนั้นทางกระทรวงฯ ก็ผลักดันมาตลอดในการที่จะเตรียมความพร้อม เพิ่มขีดความสามารถของพวกเขา

                  แม้ไม่รู้ว่าพวกเขาจะเดินทางกลับเมื่อไร แต่ก็ได้วางแผนไว้แล้วว่าอย่างไรก็ต้องเตรียมความพร้อมส าหรับ

                  พวกเขา

                         ข้อเสนอแนะอื่น ๆ ในรายงานการวิจัย ทางกระทรวงฯ ก็เห็นว่าอาจจะต้องมาพิจารณากับ


                  หน่วยงานหรือหุ้นส่วนที่เกี่ยวข้อง เพราะบางอย่างอาจต้องใช้เวลา ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับกฎหมาย และ

                  จะต้องผ่านขั้นตอนกระบวนการต่าง ๆ อีก
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80