Page 70 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 70

๖๑
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”




                  การดูแลเราใช้กฎหมายฉบับไหนดูแล”  ซึ่งค าถามเหล่านี้เราก็ถามกันมาเป็น ๑๐ แล้ว แต่ก็ยังไม่ได้รับการ

                  แก้ไข จนถึงปัจจุบันเราก็ยังมีผู้ลี้ภัยอยู่ เป็นผู้ลี้ภัยจากการสู้รบประมาณ ๑๔๐,๐๐๐ กว่าคน ใน ๙ ค่าย ๔


                  จังหวัด หลาย ๆ คณะที่ลงพื้นที่ไปดูก็สอบถามว่า “พื้นที่พักพิงทั้ง ๙ แห่ง ถูกตั้งขึ้นโดยใช้อ านาจกฎหมาย

                  อะไร” การที่อนุญาตให้คน ๑๔๐,๐๐๐ อยู่ในประเทศไทยนั้น อนุญาตให้อยู่โดยใช้กฎหมายอะไร


                         นอกเหนือจากนั้นเราก็ยังมีผู้ลี้ภัยที่ไม่ได้อยู่ในค่ายด้วยเหมือนกัน เป็นผู้ลี้ภัยที่มาจากประเทศอื่น

                  ที่ไม่ใช่พม่าก็หลาย ๑,๐๐๐ คน ตรงนี้ก็เป็นช่องว่างของกฎหมายที่เกิดขึ้น ซึ่งไม่ได้มีแต่เฉพาะในประเทศ


                  ไทยด้วยกันเองที่เราเห็นช่องว่าง ประชาคมระหว่างประเทศเขาก็เห็นช่องว่างนี้ด้วยเหมือนกัน ซึ่งประเทศ

                  ไทยเราเป็นภาคีสมาชิกของกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศอีกหลายฉบับ เช่น กติการะหว่าง

                  ประเทศ สิทธิทางพลเมือง สิทธิทางการเมือง ฯลฯ ที่ก าหนดสิทธิการลี้ภัยไว้ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก

                  อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน ก็ได้ก าหนดไว้ถึงสิทธิไม่ถูกผลักดันกลับ และยังมีอนุสัญญาฉบับอื่น ๆ อีก

                  ซึ่งประเทศไทยถูกถามในทุกเวทีว่า “เราจัดการผู้ลี้ภัยอย่างไรโดยที่ไม่มีกฎหมาย และการที่ประเทศไทย

                  ไม่ได้เข้าไปเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัยนั้น ก็ได้รับข้อเสนออย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด”


                  ล่าสุดประเทศไทยเราไปรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่กรุงเจนิวา ของสหประชาชาติ ซึ่งก็มีกว่า ๓๐

                  ประเทศ ที่มีข้อเสนอให้ประเทศไทยนั้นเข้าไปเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ซึ่งล่าสุดก็ทราบ

                  จากทางตัวแทนกระทรวงต่างประเทศว่า “มีแนวโน้มว่าประเทศไทยจะไปตอบในเดือนมีนา (๒๕๕๕)

                  ที่กรุงเจนิวาว่า เรายังคงไม่เข้าไปเป็นภาคี แต่เราอยากที่จะพิจารณา”



                         ตรงนี้เป็นประเด็นส าคัญที่ผู้เกี่ยวข้องกับในเรื่องสถานการณ์ผู้ลี้ภัยจากการสู้รบควรจะต้องมา

                  พิจารณากันว่า “บทบาท ท่าทีดังกล่าวนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการผู้ลี้ภัยหรือไม่ อย่างไร”

                  นอกเหนือจากสิทธิในการลี้ภัยที่ปรากฏอยู่ในกฎหมายระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเข้าไปเป็นภาคีแล้ว

                  หลักในการไม่ผลักดันกลับซึ่งตรงนี้จะเกี่ยวข้องกับรายงานฉบับที่ ดร.จตุรงค์ ได้ท ามาสืบเนื่องจาก

                  สถานการณ์ที่มีผู้ลี้ภัยจากการสู้รบเข้ามาในประเทศไทย และประเทศไทยถูกต าหนิว่าเราผลักดันคนที่ลี้ภัย

                  ความตายจากการสู้รบเข้ามาออกนอกประเทศไทย ซึ่งประชาคมโลก และองค์การสหประชาชาติบอกว่า


                  “ประเทศไทยละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง”


                         อีกทั้งหลักการไม่ผลักดันกลับนั้นยังเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ ซึ่งทุกประเทศให้

                  การยอมรับ แม้ว่าจะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ดังนั้นการที่เราจะผลักดันใครกลับไปนั้นก็เป็นการละเมิด
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75