Page 69 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 69
๖๐
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
ปัจจุบันจ านวน ๑๙๐ กว่าประเทศ สมาชิก UN ก็มีประเทศที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกอยู่ประมาณ ๖๐
กว่าประเทศ (รวมประเทศไทยด้วย) ในประเทศต่าง ๆ ที่เข้าไปเป็นภาคีอนุสัญญาฉบับนี้ก็ได้ก าหนด
กฎหมายภายในออกมา หรือไม่ก็ก าหนดนโยบายออกมาในการบริหารจัดการผู้ลี้ภัยอย่างเป็นระบบ สิ่งที่
เกิดขึ้นคืออนุสัญญาให้ค าจ ากัดความไว้ว่า “ผู้ลี้ภัย คือ บุคคลที่ออกนอกประเทศของตนเองด้วยความ
หวาดกลัวจากการถูกประหารด้วยเหตุผล ๕ อย่าง ได้แก่ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา ความคิดเห็นทางการ
เมือง และสมาชิกกลุ่ม/กลุ่มสังคมเฉพาะ และไม่สามารถที่จะกลับไปได้” ตรงนี้ก็เป็นค านิยามที่กฎหมาย
ระหว่างประเทศใช้ และประเทศที่เป็นภาคีก็ใช้นิยามเดียวกัน
นอกจากนั้น กฎหมายระหว่างประเทศก็ได้ก าหนดอ านาจหน้าที่ของรัฐในการบริหารจัดการคนที่
เข้าไปขอลี้ภัย รวมถึงการก าหนดมาตรการต่าง ๆ ในการที่จะควบคุมดูแลผู้ลี้ภัย และสิทธิต่าง ๆ ที่ผู้ลี้ภัย
พึงจะได้รับ รวมถึงสิทธิในการที่จะไม่ถูกจับกุมด าเนินคดีในการที่เข้าไปขอลี้ภัย สิทธิในการที่จะเป็นบุคคล
ในกระบวนการทางกฎหมาย สิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือตามหลักพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน เป็นต้น
ต่าง ๆ เหล่านี้เป็ นกรอบกฎหมายระหว่างประเทศที่ประเทศภาคีนั้นจะสามารถน าไปใช้ได้
นอกเหนือไปจากนั้นเอง ตัวกฎหมายระหว่างประเทศยังก าหนดไว้ว่า ขั้นตอนของการเข้าไปขอลี้ภัยจะเป็น
อย่างไรบ้าง กลุ่มบุคคลใดที่จะสามารถเข้าไปทางช่องทางไหนที่จะเข้าไปขอลี้ภัย ทั้งหมดทั้งสิ้นเป็นไปเพื่อ
การบริหารจัดการที่เป็นระบบ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศไทยเราจะมีผู้ลี้ภัยอยู่มา ๔๐ กว่าปี แต่เราก็ยังไม่เข้าไปเป็นภาคีตัว
อนุสัญญาฉบับนี้ ซึ่งผมก็ถามค าถามเดียวกันกับหลาย ๆ ฝ่ายที่ปฏิเสธไม่อยากที่จะเข้าไปเป็นภาคี
อนุสัญญาฉบับนี้ ค าถามเดียวกันว่า “ท่านเคยอ่านตัวอนุสัญญาฯ ๑๙๕๑ แล้วหรือยัง” ซึ่งโดยส่วนใหญ่ก็
ยังไม่ได้อ่าน แต่มีจุดยืนว่าจะไม่เข้าไปเป็นภาคี โดยความเข้าใจที่ถูกสร้างให้เกิดขึ้นว่า “การเข้าไปเป็น
ภาคีจะท าให้ประเทศไทย ประสบปัญหาต่าง ๆ” ก็เลยอยากจะเสนอประเด็นที่ประเทศไทยควรพิจารณาว่า
“ถ้าหากว่าเราจะมีการบริหารจัดการที่เป็นระบบ ซึ่งจ าเป็นหรือไม่กับประเทศไทย ในฐานะที่ประเทศไทย
เราเป็นนิติรัฐ” หมายความว่า ประเทศไทยเราใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ/บรรทัดฐานของการบริหารจัดการ
ประเทศ แต่ว่าเรื่องของผู้ลี้ภัยเราเลือกที่จะไม่ใช่กฎหมายในการบริหารจัดการเรื่องนี้ตลอดระยะเวลา ๔๐
กว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งหลาย ๆ ท่านก็อาจเกี่ยวข้องกับการจัดการผู้ลี้ภัย และตระหนักว่าการดูแลเรื่องผู้ลี้ภัยมี
ความยากล าบากอย่างมากส าหรับเจ้าหน้าที่ว่า “จะใช้กฎหมายฉบับไหนในการที่จะจัดการกับผู้ลี้ภัย
ส าหรับผู้ที่ลี้ภัยเข้ามาในประเทศไทยเราจะพิจารณาเขาอย่างไร เกณฑ์เป็นอย่างไร ขั้นตอนเป็นอย่างไร