Page 73 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 73
๖๔
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
จากงานวิจัยคิดว่าต้องท าให้เห็นปัญหาที่ชัดเจนมากขึ้น และเป็นระบบ เพราะถ้าคนที่คลุกกับปัญหา
จะต้องเห็นเรื่องนี้ไม่ยาก หมายความว่ามีความเห็นพ้องกันว่าจะผลักเรื่องนี้ให้เดินต่อไปได้
นางสาวพัชยานี ศรีนวล ผู้แทนโครงการคุ้มครองสิทธิเด็กไร้สัญชาติกล่าวว่า เรื่องผู้ลี้ภัยเป็น
ประเด็นที่แลกเปลี่ยนกับพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ตามแนวชายแดนอยู่ โดยเฉพาะเรื่องสิทธิมนุษยชน เพราะ
กลุ่มคนเหล่านี้ถูกละเมิด ก็พยายามเข้าไปช่วยเหลือ และท าให้เขามีความมั่นคงในชีวิตของเขา หรือการ
พยายามให้เขามีตัวตนที่เราสามารถตรวจสอบ / ช่วยเหลือเขาได้ การท างานก็ยังมีความเป็นห่วงพี่น้อง
กลุ่มชาติพันธุ์ เช่น เรื่องการส่งกลับ เรื่องการด าเนินคดีตามกฎหมาย
นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กล่าวปิดการสัมมนารับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะของ
หน่วยงานรัฐในระดับปฏิบัติการในพื้นที่ว่า การที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต้องมาดูแลปัญหา
ผู้ลี้ภัยการสู้รบบริเวณชายแดนกันนั้น คงต้องย้อนร าลึกไปถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว ที่มีการก าหนดเส้นเขตแดน เพื่อป้ องกันการรุกล ้าของต่างชาติ ซึ่งเป็นความคิดเมื่อร้อยกว่าปี
มาแล้ว ปัจจุบันโลกได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว มุมมองเรื่องเขตแดนควรจะเปลี่ยนแปลงไป ในยุคโลก
ไร้พรมแดน
“ เราจะใช้แนวคิดเรื่องความมั่นคงของรัฐมาก ากับอย่างเดียวไม่ได้แล้ว ประเทศเมียนมาร์เองก็ได้
เปลี่ยนแปลงไป เป็นเรื่องของการหมุนเวียนของประชากรมากกว่า และปฏิเสธไม่ได้ว่าแรงงานพม่าได้
หลั่งไหลมายังประเทศเรามากมายไม่ว่าจะลงทะเบียนหรือไม่ลงทะเบียนก็ตาม เราควรเปลี่ยนวิธีคิดใหม่
เป็นเรื่องการลี้ภัยทางเศรษฐกิจ มาหางานท า กฎหมายที่เรามีอยู่ในปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมพอ ผมเคย
เชิญศาสตราจารย์ชาวเยอรมันมาคนหนึ่งมาให้ความรู้เรื่องเขตแดนของสหภาพยุโรป เขาชี้ให้เห็นว่าใน
ประเทศเยอรมัน ผู้ที่ลี้ภัยมาถึงเยอรมันได้ จะนับได้ว่าเป็นคนของประเทศเขาเลย มีสิทธิต่าง ๆ เท่ากับคน
เยอรมัน ”
“ เมื่อปีที่แล้วผมไปที่จังหวัดตาก คุยกับปลัดอ าเภอ เขาก็พูดเหมือนกันว่า จะท าอย่างไรจึงจะส่ง
ผู้ลี้ภัยกลับไปแล้วเขาจะไม่หวนกลับมาอีก ท าอย่างไรเขาจะอยู่ในประเทศเมียนมาร์ได้อย่างปลอดภัย
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องหน้าตาประเทศ แต่เป็นเรื่องของความเป็นมนุษย์ด้วยกัน การพิจารณาว่าจะส่งผู้ลี้ภัยกลับ
หรือไม่ เราควรจะฟังเสียงใคร การประเมินการส่งกลับจะฟังแต่รัฐบาลทหารพม่าอย่างเดียวไม่พอ ต้องมี
ข้อมูลที่รอบด้าน มิติต่าง ๆซับซ้อนขึ้น มีมิติทางเศรษฐกิจด้วย ผมคิดว่าถ้าไม่ได้ผลักดันให้ประเทศไทยเข้า