Page 68 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 68
๕๙
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
ในเรื่องผู้หนีภัยสงคราม ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า สภาพ/สถานะของผู้ลี้ภัยมีต่าง ๆ กัน มีข้อคิดเป็นการ
เปรียบเทียบว่า สถานะของชาวเขมรก็เป็นลักษณะเดียวกับที่ลี้ภัยจากพม่า ซึ่ง UNHCR ดูแล ข้อปัญหา
ทางกฎหมาย / ข้อวิจารณ์ / ความช่วยเหลือต่าง ๆ ที่เราเคยให้และเคยท ามา เราสามารถที่จะเอา
ประยุกต์ใช้กับกรณีประสบการณ์ทางด้านตะวันตกได้อย่างไรบ้าง การช่วยเหลือผู้หนีภัยสงครามอาจไม่
ต้องถึงกับขนาดต้องท าตามอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ.๑๙๕๑ แต่ขอมีแนวทางว่าควรจะ
ปฏิบัติอย่างไรในบริบทสังคมไทย ขณะเดียวกันก็ไม่ได้บ่อยให้เป็นเรื่องของดุลยพินิจ หรือการปฏิบัติที่
มนุษย์ต่อมนุษย์
นายวีรวิชญ์ เธียรชัยนันท์ ผู้อ านวยการบริหารมูลนิธิไทยเพื่อคนมีปัญหาสิทธิและสถานะ
บุคคลเห็นว่าฝ่ายก ากับนโยบายควรเรียนรู้ประสบการณ์ทางด้านการจัดการผู้ลี้ภัยอินโดจีน และน ามา
ก าหนดนโยบายผู้ลี้ภัยจากการสู้รบทางฝั่งพม่า ควรประยุกต์องค์ความรู้มาใช้อย่างเต็มที่ โดยหลักการก็
คือ สิ่งที่รัฐบาลเรียนรู้จากช่วงที่มีผู้ลี้ภัยจากสงครามอินโดจีนว่าเราท าทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมาย จึงท า
ให้เป็นการยากในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะเรื่องของการส่งกลับ และการเรียนรู้อีกอย่าง คือ การให้
UNHCR เข้าไปมีบทบาทหลักในการบริหารจัดการค่ายผู้ลี้ภัย ท าให้การบริหารจัดการโดยรัฐบาลไทย
ยากล าบากขึ้น ฉะนั้น สิ่งที่เรียนรู้ก็ควรน ามาใช้ในกรณีของการอพยพทางตะวันตกของประเทศไทย คือไม่
เอา UNHCR เข้ามา ให้ NGOs แจกอาหาร แจกน ้าอย่างเดียว และไม่ให้สถานภาพที่ถูกต้องตาม
กฎหมาย เพราะว่ากลุ่มของผู้ลี้ภัยอินโดจีน หรือกลุ่มนักศึกษาพม่า เราใช้มาตรา ๑๗ ของพระราชบัญญัติ
คนเข้าเมือง อนุญาตให้อยู่ชั่วคราวโดยถูกกฎหมาย การที่จะให้ออกไปจึงยากเพราะมีบทกฎหมายรองรับ
เราก็พยายามที่จะเก็บให้อยู่ในสถานะเป็นผู้หลบหนีเข้าเมือง ถึงแม้ว่าผู้ลี้ภัยที่อยู่ในค่ายจะมีทะเบียน
ก็ยังคงสถานะทางกฎหมายว่าเป็นผู้หลบหนีเข้าเมือง
ปัจจุบันนี้ประเทศไทยยังไม่ได้เข้าไปเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑
และเราพบว่าประเทศทางยุโรปมีผู้ที่ประสบภัยจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นจ านวนมาก จึงได้มีแนวทาง
ของสหประชาชาติที่จะบริหารจัดการคนกลุ่มนี้โดยการใช้กฎหมายระหว่างประเทศ และภายในประเทศที่
เกี่ยวข้องกับในช่วงสงครามครั้งที่ ๒ จึงได้ออกกฎหมายฉบับนี้ออกมา และกฎหมายฉบับนี้ก็ได้ถูกน าไปใช้
ในอีกหลายภูมิภาคทั่วโลกที่เกิดความขัดแย้งขึ้น