Page 67 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 67

๕๘
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”




                  ในพื้นที่ หรือว่าคนในพื้นที่เรียกร้องให้ทางราชการช่วยเหลืออะไรบ้างก็ยังไม่เคยมี คิดว่าเขาก็อยู่สุขสบาย

                  ข้าวสารก็มีกิน บ้านก็มีอยู่ และเราก็อนุญาตให้ออกไปท างานนอกพื้นที่ได้ตลอด ไม่มีการห้าม แต่จะมี


                  เจ้าหน้าที่ทหารไปตรวจดูว่า คนที่อยู่ในศูนย์มีเพิ่มไหม  ตอนหลังก็มีหนีกลับพม่า หรือหนีออกไปท างาน

                  ข้างนอกก็มี


                         สรุปแล้ว คือ ทุกวันนี้ก็ยังอยู่เหมือนเดิม เด็ก ๆ ที่ไปเรียนหนังสือ เขาก็ได้รับการจัดท าทะเบียน

                  ประวัติ คิดว่าอนาคตเขาก็มาอยู่ในการควบคุมดูแลของกรมการปกครองสามารถไปเรียนหนังสือ ท างาน


                  ได้เหมือนอย่างบุคคลทั่วไป เพราะมีทะเบียนประวัติแล้ว และมีก็การพิมพ์นิ้วมือไว้แล้ว ซึ่งก็คงไปไหนไม่ได้

                  แต่คงจะได้รับสถานะตามที่มติคณะรัฐมนตรีจะให้ในโอกาสต่อไปว่าสถานะจะเป็นอะไรต่อ ส าหรับผู้ใหญ่

                  สถานะ คือ เป็นผู้หลบหนีเข้าเมือง ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร์เลย


                  ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ (ประจ าจังหวัดเชียงใหม่)


                         ผู้แทนจากกระทรวงการต่างประเทศ(ประจ าจังหวัดเชียงใหม่) กล่าวว่าไม่ค่อยมีประเด็นผู้ลี้ภัย


                  มากนัก จะพบแต่กรณีที่เป็นคนพม่า เพราะทางกระทรวงมีการรับรองเอกสาร โดยนิติกร ซึ่งส่วนใหญ่จะ

                  เป็นคนพม่าที่จะมารับรองเอกสารความเป็นโสดที่จะสมรสกับพลเมืองชาวไทย  และจะมีชาวพม่าหลาย

                  คนมาที่ส านักงานของกระทรวงการต่างประเทศที่จังหวัดเชียงใหม่เพื่อขอรับรองเอกสารนี้ เขาบอกว่า “เสีย

                  เงินไป ๑๐,๐๐๐ - ๒๐,๐๐๐ บาท” แต่มาที่ส านักงานของเรา ก็ไม่สามารถรับรองเอกสารนี้ได้  ชาวพม่ายัง

                  ถูกหลอกเรื่องพวกนี้อยู่เป็นจ านวนมาก และเราก็ไม่สามารถท าอะไรให้ได้เลย





                  ๓.๕  ความคิดเห็นของนักวิชาการและองค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่


                         รศ.ดร.ไชยันต์  รัชชกูล  คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ตั้งข้อสังเกตว่า


                  ในช่วงหลังจีนเข้ามามีอิทธิพลกับพม่าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของพม่าคงจะมี

                  ผลอย่างยิ่งต่อนโยบายทางทหาร จึงตั้งค าถามว่า “มันจริงหรือที่จะหยุดยิงกัน สงบศึก การเปลี่ยนแปลง

                  เป็นประชาธิปไตย หรือค่อย ๆ สมบูรณ์มากขึ้น” แง่คิดอีกแง่หนึ่งที่ต่างไปจากรายงานตามหนังสือพิมพ์

                  และข่าวที่มีอยู่เหมือนกับว่ามีความหวังกับการเปลี่ยนแปลงในช่วงนี้ของพม่ามาก
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72