Page 66 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 66

๕๗
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”




                  คิดว่าเราก็ยังมีความไม่ชัดเจนต่อไป ซึ่งทาง อ าเภอแม่สอดจากสภาพปัญหาคนอพยพ ๒๕,๐๐๐  คน

                  ก็ได้มาวิเคราะห์ปัญหาร่วมกับ NGOs  (กลุ่มชาวพม่า) เพื่อวางแผน จัดท าแผนเผชิญเหตุด้านการอพยพ


                  ผู้ลี้ภัย เราได้แบ่งซอยย่อย คือ พื้นที่พักพิงใน อ าเภอแม่สอด จะไม่เกิน ๕,๐๐๐  คน เพื่อให้ง่ายต่อการ

                  บริหารจัดการ


                         สรุป คือ ผู้ลี้ภัยมี ๒ ประเภท คือ



                         ๑) ผู้ลี้ภัยที่อยู่ในศูนย์พักพิงชั่วคราว ๙ แห่ง (ถาวรและอยู่นาน)


                         ๒) ผู้ลี้ภัยตามสถานการณ์/ชั่วคราว (เมื่อมีการสู้รบก็อพยพมา และเมื่อสิ้นสุดก็เดินทางกลับ)


                         ซึ่งขั้นตอนการดูแลเราก็ยึดหลักเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นหลัก  แต่ว่าปัญหาที่ผ่านมาที่ราชการทุก


                  หน่วยถูกโจมตี คือ เรื่องการส่งกลับ มีการโจมตีว่าทางราชการไทยผลักดันขณะที่สถานการณ์ฝั่งพม่ายังมี

                  การสู้รบกันอยู่  ตอนนี้เราได้หารือกับ UNHCR และ NGOs ที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยมีรูปแบบคณะกรรมการที่

                  ดูแลเรื่องนี้อยู่  เมื่อมีสถานการณ์เกิดขึ้นก็จะมีการจัดตั้งที่พักรอ  ทหารจะเป็นผู้ดูแล คัดกรอง ปลดอาวุธ

                  แยกแยะว่ากลุ่มไหนเป็นผู้ได้รับผลกระทบจริง หรือกลุ่มไหนเป็นกองก าลังไม่ทราบฝ่าย และก็ส่งต่อให้ฝ่าย

                  ปกครอง ทางอ าเภอก็จะจัดตั้งพื้นที่พักพิงร่วมกับองค์กรเอกชน (UNHCR) ในการวางแผน รวมทั้ง


                  วิเคราะห์ปัญหาว่าสถานการณ์จะสิ้นสุดเมื่อไร โดยการประสานงานกับฝ่ายความมั่นคงว่าฝั่งนู้นเป็น

                  อย่างไร เมื่อสถานการณ์สงบก็จะมีการส่งกลับในแนวทางที่ปลอดภัยโดย UNHCR  และ NGOs  ที่

                  เกี่ยวข้อง


                  ผู้แทนนายอ าเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่


                         ปลัดอ าเภอเวียงแหง ให้ข้อมูลว่า ที่อ าเภอเวียงแหงก็มีศูนย์พักรอเหมือนกัน แต่ว่าไม่ได้เป็นผู้ลี้ภัย


                  ตอนนี้มีสถานะถือว่าเป็นผู้หลบหนีเข้าเมือง กลุ่มนี้หลบหนีเข้ามาในลักษณะกระจัดกระจาย อยู่ตามบ้าน

                  ญาติต่าง ๆ ไม่ได้มาอยู่ร่วมกันตั้งแต่แรก   ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๔๖  ฝ่ายปกครองได้ไปรวบรวมให้มาอยู่ที่

                  ศูนย์พักพิงแห่งนี้ โดยมี NGOs หลาย ๆ หน่วยเข้ามาให้ความช่วยเหลือในการสร้างศูนย์ และ UNHCR ก็

                  เคยมาสนับสนุนในเรื่องอาหารเป็นเวลา ๑ ปี และก็งดไป  ปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ ๔๙๐ คน สถานะก็

                  ยังคงเป็นผู้หลบหนีเข้าเมือง ไม่ใช้ผู้ลี้ภัย เพราะว่าเราไม่มีงบประมาณก็เลยไม่รับรองเป็นผู้ลี้ภัย  มีแต่การ


                  ให้อาหาร (ข้าว น ้ามัน ฯลฯ) ตามอัตราที่เขาให้ประจ าทุกเดือน สรุปแล้ว คือ ก็ไม่ได้มีผลกระทบอะไรต่อคน
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71