Page 65 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 65
๕๖
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
ส่วนการปฏิบัติในพื้นที่จะมีหน่วยทหาร/หน่วยป้ องกันชายแดนรับผิดชอบ เรามีการจัดเตรียมแผน
ในการอพยพราษฎรกรณีที่เกิดภัยจากการสู้รบ พ.ศ.๒๕๔๕ - ๒๕๔๖ ความตึงเครียดมีมากในพื้นที่อ าเภอ
แม่ฟ้ าหลวง ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรง คือ เป็นการสู้รบระหว่างไทยกับพม่า และมีผลกระทบกับราษฎรซึ่ง
เป็นคนไทยในบริเวณชายแดน ในเรื่องการอพยพเราก็ตั้งจุดรวบรวมพลโดยห่างจากแนวชายแดน เพื่อ
ป้ องกันอาวุธหรือกระสุนต่าง ๆ ดังนั้นในการปฏิบัติหน่วยป้ องกันชายแดนจึงก าหนดเลยว่า พื้นที่ไหน
ปลอดภัย ห่างจากชายแดนเท่าไร
เรื่องการปฏิบัติ ความจริงแล้วจะเน้นเรื่องหลักมนุษยธรรม เช่น การให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
ใน ๒ ประเทศ ยกตัวอย่าง พ.ศ. ๒๕๔๖ ที่กระทบกระทั่งกันมากจนด่านปิด ตอนนั้นเดือดร้อนทั้ง ๒
ประเทศ โดยเฉพาะพ่อค้า แม่ค้าคนไทยที่ต้องไปขายของฝั่งพม่าก็ออกไปขายไม่ได้ ส่วนเรื่องการ
กระทบกระทั่งไม่ค่อยมีในพื้นที่ คือ จะใช้ความสัมพันธ์กันเป็นส่วนใหญ่ ยกตัวอย่างเมื่อเกิดความเสียหาย
จากแผ่นดินไหวในประเทศเมียนมาร์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๑ คนไทยก็รวบรวมทั้งเงิน และสิ่งของไปบริจาคกับ
ผู้ประสบภัยของพม่า สรุปว่าเรื่องการปฏิบัติงานในพื้นที่ไม่มีปัญหาเรื่องการกระทบกระทั่งกัน เพราะจะใช้
ความสัมพันธ์ส่วนตัวเป็นหลัก
ผู้แทนฝ่ายความมั่นคง อ าเภอแม่สอด จังหวัดตาก
หัวหน้าฝ่ายความมั่นคง อ าเภอแม่สอด ให้ข้อมูลว่า การปฏิบัติงานผู้ลี้ภัยจากการสู้รบใช้อ านาจ
หน้าที่ตามมติคณะกรรมการสภาความมั่นคงแห่งชาติรุ่นที่ ๒ (พ.ศ.๒๕๔๓) มีคู่มือการปฏิบัติงานซึ่งเก่า
แล้ว แต่ว่าใช้มาโดยตลอด แนวทางปฏิบัติเราท างานภายใต้เรื่องของสิทธิมนุษยชนในศูนย์อพยพแต่ละ
แห่งซึ่งมีผู้ลี้ภัยอยู่และเราก็ไม่เคยผลักดันออกไป ก็เข้ามาเรื่อย ๆ ใน พ.ศ.๒๕๔๘ UNHCR ร่วมกับ
กระทรวงมหาดไทยได้ส ารวจผู้ลี้ภัยจากการสู้รบในศูนย์ทั้งหมด ๙ แห่ง และก็เพิ่มเงื่อนไข คือ หนีภัยจาก
การเมือง หนีภัยจากเศรษฐกิจ ถ้าเกี่ยวโยงกับเรื่องการสู้รบ เช่น ถูกยึดที่ท ากิน เราก็ให้ ณ ปัจจุบันจากการ
ส ารวจก็คงมีเกือบ ๒๐๐,๐๐๐ คน ตามที่ได้ดูแลอยู่ แต่ไม่สามารถเปิดเผยตัวเลขนี้ได้ เพราะว่าเกี่ยวเนื่อง
กับเรื่องของสิทธิมนุษยชน ไม่เคยมีการผลักดันกลับประเทศ
ส าหรับแม่สอดมีชายแดนทางตะวันตกติดกับพม่า ปัจจุบันกองก าลังก็มีความหลากหลาย ทั้ง
กลุ่มที่ท าสัญญาหยุดยิงกับทหารพม่าแล้ว และกลุ่มที่ยังไม่หยุดยิง ล่าสุดก็ทราบมาว่าที่ อ าเภอท่าสอง
ยางก็ยังมีการยิงกันอยู่ ก็แสดงให้เห็นว่าชายแดนทางฝั่งตะวันตกยังมีความอึมครึมด้านสถานการณ์ และ