Page 58 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 58

๔๙
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”




                  “ประเทศกัมพูชาเป็นประเทศที่เป็นมิตรกับประเทศไทยมากที่สุด ด้วยเหตุผลว่าคนกัมพูชาลี้ภัยอยู่ใน

                  ประเทศเป็นเวลานาน ฉะนั้นเขาจะต้องรู้สึกดีกับประเทศไทย” ปรากฏว่าสัปดาห์ถัดไป สถานทูตไทยถูก


                  เผา และทราบว่าทางสภาความมั่นคงแห่งชาติก็ส่งทีมไปหาข้อเท็จจริง ผลปรากฏว่า “เขารู้สึกแย่มากเลย

                  กับคนไทย เพราะตอนที่อยู่ในประเทศไทยคนไทยจะกดขี่เขามาก และท าให้เขารู้สึกว่าเขาด้อยค่า ถูกเอา

                  รัดเอาเปรียบ”


                         “ผมคิดว่ากลไกการบริหารจัดการในสมัยสงครามอินโดจีนต่างจากพม่าที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน


                  ฉะนั้น ความคาดหวังว่าคนเหล่านี้จะดีกับเรา ไม่แน่ใจว่าเราคิดถูกหรือเปล่า เพราะจากที่ไปสัมผัสอย่างไม่

                  เป็นทางการ เขาไม่ได้รู้สึกเช่นนั้นกับคนไทย หรือรัฐบาลไทย ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งที่เราต้องคิดอยู่เหมือนกัน …..

                  สังเกตเห็นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นไม่มีเจ้าภาพหลัก เพื่อคิดก าหนดทิศทางว่าจะท าอย่างไรต่อไปอย่างจริงจัง และ

                  ดึงภาคส่วนต่าง ๆ มาคิดด าเนินการ คือ จะเป็นแบบแต่ละฝ่ายต่างคนก็ต่างท าหน้าที่ของตนเองไป เพราะ

                  ไม่อย่างนั้นก็จะเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปเรื่อย ๆ แต่ถ้าเรามีการก าหนดทิศทางว่าจะท าอะไรใหม่

                  ปรับกลยุทธ์ใหม่ ควรจะมีเจ้าภาพ”



                         นายแพทย์นิรันดร์  พิทักษ์วัชระ  ประธานอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

                  และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวสรุปในช่วงท้ายของการสัมมนาไว้ ๓ ประเด็น กล่าวคือ



                         ประเด็นที่ ๑  ในพื้นที่ของผู้ลี้ภัย หรือการมีค่ายอพยพได้ตอกย ้าวิธีคิดเก่า ๆ ของเจ้าหน้าที่และ

                  ส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของผู้ลี้ภัยว่า อาจจะมีปัญหาเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตรงนี้ต้องการ

                  ย ้าว่าไม่ใช่เป็นเรื่องความผิดของตัวบุคคล แต่เป็นเรื่องของวิธีคิด และน ามาซึ่งนโยบายของการบริหาร

                  จัดการในแบบเก่าๆนั้นมีปัญหา เพราะวิธีคิดแต่เรื่องของความมั่นคง ตอนที่ผมไปดูสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

                  ท่าสองยาง อุ้มผาง แม่สอด ต้องยอมรับว่า “ทหารต้องรับหน้าเสื่อ” เป็นผู้ดูแลปัญหาทั้งหมด ผมคิดว่าคน

                  ที่มาคอยดูแลผู้ลี้ภัยไม่ควรเป็นฝ่ายทหารแต่ผู้เดียว เพราะหน้าที่ของทหาร คือ การศึกสงคราม แต่เรื่อง


                  ของผู้ลี้ภัยไม่ใช่เรื่องศึกสงคราม เรามองแต่ประเด็นเรื่องความมั่นคงก็เลยยัดเหยียดให้ทหารเป็นคน

                  รับผิดชอบ


                         ประเด็นที่ ๒  เมื่อผมไปเห็นส่วนราชการต่าง ๆ ดูแลผู้ลี้ภัยแบบสงสาร (เมตตาธรรม) ซึ่งค าว่า

                  “สงสารเมตตาธรรม” ก็เลยท างานแบบไม่ต้องมีนโยบาย เหมือนเรื่องน ้าท่วม สังคมไทยไม่ค านึงถึงเรื่อง


                  สิทธิ ได้แต่พอใจที่เห็นมีคนบริจาคกันมากมาย  จนเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่า “ประเทศไทยให้ทานมาก
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63