Page 59 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 59
๕๐
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
เป็นอันดับ ๙ ของโลก” ท าให้บิดเบือนภาระของรัฐบาลที่ต้องรับผิดชอบแก้ไขปัญหา รวมทั้งละเลยเรื่อง
สิทธิของประชาชนที่ต้องสูญเสียไปมากมาย เราต้องเข้าใจว่าความคิดแบบหนึ่งอาจจะดีส าหรับยุคสมัย
หนึ่ง แต่สมัยนี้ความคิดแค่การให้ทานอย่างเดียว ได้ละลายความรับผิดชอบของรัฐบาลที่ต้องเข้าไปดูแล
ผู้ลี้ภัยว่า เราต้องมีความคิดแบบ “สิทธิมนุษยชนที่เคารพหลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แค่ไหน” เช่น รัฐบาล
ที่ดูแลวิกฤตน ้าท่วมต้องมีหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร สิทธิการมีที่ดินท ากิน และ
สิทธิแรงงาน ฯลฯ แต่ภาพของการให้ทานเป็นอันดับ ๙ ของโลก ได้บิดเบือนหน้าที่ของรัฐบาลทั้งหมด
ประเด็นที่ ๓ ส่วนราชการท างานแบบแยกส่วน ที่มองเห็นเรื่องสิทธิมนุษยชนมากที่สุดน่าจะเป็น
กระทรวงการต่างประเทศ แต่การท างานแบบแยกส่วน ท าให้ในการดูแลปัญหาเรื่องผู้ลี้ภัยที่ต้องการดูแล
แบบภาพรวมไม่เกิดขึ้น สุดท้ายเลยท าตามความคิดของคนไทยที่คิดว่าไทยเราเป็นลูกพี่ คิดแบบชาตินิยม
คือ คนไทยต้องเก่งกว่าพม่า ปัญหาอย่างนี้เลยท าให้วิธีคิดในการดูแลพลเมืองที่อยู่ในพรมแดน ไม่ได้
ค านึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน วิธีคิด ๒-๓ อย่างนี้ จึงท าให้รัฐไทยการบริหารจัดการเรื่องผู้ลี้ภัยออกมาเป็น
เรื่องของความผิด ไม่ถูกฎหมาย เช่น กลายเป็นแรงงานข้ามชาติผิดกฎหมาย หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย
จนกลายเป็นช่องทางท ามาหากินที่มิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ เช่น ต ารวจเรียกค่าต๋งจากนักธุรกิจ มีเรื่อง
การค้ามนุษย์ ประเด็นเหล่านี้จึงเป็นปัญหาที่สะสมในเรื่องผู้ลี้ภัยด้วย ดังนั้น ก่อนอื่นวิธีคิดเรื่องผู้ลี้ภัยต้อง
มองเรื่องของคนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ.๑๙๕๑ ที่จะช่วยให้
เรามองเห็นปัญหาและแก้ไขอย่างถูกต้องเป็นสิ่งที่รัฐไทยต้องยอมรับ
นอกจากนี้ ใน พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐไทยถูกบีบบังคับในเรื่องของกระแสโลกาภิวัตน์หลายด้าน ขณะนี้
ภาคธุรกิจได้ข้ามชาติไปแล้ว มีบริษัทของคนไทยไปลงทุนที่เมืองทวาย การสร้างเขื่อนที่แม่น ้าสาละวิน
แล้วยังข้ามไปลงทุน ที่ลาวและกัมพูชา ขณะเดียวกันคนต่างชาติชาวฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ได้เดินทางมา
ลงทุนที่ประเทศไทย ดังนั้นกระแสโลกาภิวัตน์ไม่มีพรมแดนเรื่องการลงทุน ด้านหนึ่งอาจจะมองว่าสงคราม
ลดลง แต่ผมกลับมองว่าความขัดแย้งเรื่องพลเมืองจะสูงขึ้น โดยเฉพาะความขัดแย้งในเรื่องสิทธิชุมชน
พลเมืองแต่ละประเทศจะลุกขึ้นมาต่อต้านมากขึ้น กระแสการไหลเวียนของคนจะห้ามไม่ได้ เมื่อห้ามไม่ได้
ความขัดแย้งเรื่องการลงทุนต่าง ๆ ก็จะเข้ามาเป็นตัวแปรในการเปลี่ยนแปลง การข้ามย้ายของคนในเรื่อง
ของการท ามาหากินเพื่อความอยู่รอด อาจจะเป็นตัวช่วยลดค าถามเรื่องสงคราม พอมีเรื่องการลงทุนก็มี
เรื่องผลประโยชน์ ก็จะมีการแย่งชิงผลประโยชน์ จึงมีประเด็นที่น่าคิดต่อไปว่า การก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
ใน พ.ศ. ๒๕๕๘ ประชาชนทั่วทั้งภูมิภาคจะได้รับผลประโยชน์จริงหรือ