Page 55 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 55
๔๖
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
เป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยผู้ลี้ภัย ส่วนเรื่องปม และเทคนิคในทางกฎหมายระหว่างประเทศ ผมคิดว่าเรา
ต้องมานั่งคุยกัน และจัดเวทีอีกครั้งหนึ่ง
นายวีระวัฒน์ ตันปิชาติ จากมูลนิธิพิทักษ์ประชาชาติ กล่าวว่า แนวคิดในเรื่องปัญหาผู้ลี้ภัย
โดยขอบเขตก็ไม่แน่ใจว่าผู้ลี้ภัยประเทศใดบ้างที่อยู่ในค่าย สิ่งที่เป็นปัญหาที่เราต้องมอง คือ ขีดจ ากัดมี
หลายอย่างในส่าวนของเรา และมันไปเกี่ยวพันในเชิงความคิดหลาย ๆ อย่าง ซึ่งตนเองท างานตรงนั้นมัน
เป็นการต่อสู้เรื่องกระบวนการความคิดทั้งหมดถึงจะก าหนดออกมาเป็นกรอบได้ ถึงแม้เราจะไม่ได้เข้าไปสู่
อนุสัญญาแบบนั้น แต่การปฏิบัติของเรากับคนที่ลี้ภัยเหล่านั้น เราท าได้ดีกว่าเขาเยอะมาก มี
ประวัติศาสตร์ไม่ใช่เฉพาะกลุ่มพม่า แต่มีหลายกลุ่มที่ดูแลเขาจนกระทั่งเข้ามาสู่สถานะเป็นคนไทย
กรณีปัญหาของผู้ลี้ภัยชายแดนพม่ามันมีอยู่ตลอดเวลา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเราคนเดียว หรือว่าขึ้นอยู่
กับเราและรัฐบาลทหารพม่า อย่างน้อยที่สุดมันมีรัฐ หรือชนกลุ่มน้อยอีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นเงื่อนไข
เพราะฉะนั้นเราจึงมองว่า เราไปพูดกับรัฐพม่า และองค์กรระหว่างประเทศ ๓ ส่วนนี้มันแก้ปัญหาไม่ได้ สิ่ง
ที่ปรากฏอยู่ตลอดเวลาหรืออยู่ในแนวคิดพัฒนาการ
สิ่งที่มองเห็น คือ ข้อเท็จจริงกับแนวทางการปฏิบัติไม่ไปด้วยกัน เพราะหลักการ/นโยบายด้าน
ความมั่นคงมันเป็นค าตอบที่สั้น และชัดเจน อธิบายได้ แต่ไม่รับผิดชอบ คือ
๑) การไม่ยอมรับเป็นผู้ลี้ภัยเพราะเกรงจะไปเข้าเงื่อนไขที่จะต้องรับตามหลักสากล
๒) สถานการณ์ชายแดนโดยชนกลุ่มน้อยมันมีอยู่ตลอดเวลา มันเป็นฤดู สิ่งที่เป็นปัจจัยหนึ่งคือ
พื้นที่ของเรามันมีแหล่งที่จะให้ท ากิน ให้อาศัยดีกว่าบ้านเขา
คนที่อยู่ในที่พักพิง ถามว่า “ท าไมเขาไม่กลับไป” ก็เพราะว่ามันกลายเป็นแหล่งที่อยู่ที่อาศัย
กระบวนการจัดการตรงนั้นมันไม่ใช่กระบวนการจัดการโดยหน้าที่ หรือกฎหมาย แต่มันมีจุดบกพร่อง
เยอะแยะ จะมองเห็นว่ามันมีกฎหมายหลาย ๆ อัน มติหลาย ๆ อันของชนกลุ่มน้อยที่มีอยู่ชัดเจน และยัง
ได้รับการปฏิบัติไม่ครบถ้วน เราต้องยอมรับความจริงตรงนี้ สิ่งที่มองเห็นคือว่าถ้าเราจะช่วยกันแก้ปัญหา
ตรงนี้ คือ เราจะต้องสร้างกระบวนการความคิดให้ไปถึงผู้มีอ านาจตัดสินใจได้ก่อน หรือการตั้งสภาวะ
แวดล้อมเพื่อไปกดดันให้ฝ่ายรัฐด าเนินการ