Page 54 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 54
๔๕
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
แล้วการเป็นภาคีของอนุสัญญาฯ จึงเป็นผลดีต่อเรา ตรงนี้ผมจะใช้โยงเข้าสู่ประเด็นสุดท้ายว่า
“ประวัติศาสตร์ได้สอนอะไรเราบ้าง”
การเลือกตั้งในพม่าเมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ เราก็เห็นการอพยพข้ามา ประชากร
อพยพเข้ามามากที่สุดในเวลาอันสั้นในรอบ ๒๐ ปี ประมาณ ๒๕,๐๐๐ กว่าคน สิ่งที่เกิดขึ้นคือ นับจาก
วันที่ ๗ พฤศจิกายน มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมาย และเป็นไปในทางลบ แต่ไม่เป็นข่าวในการเมือง
ระหว่างประเทศ พร้อม ๆ กับที่พม่าใช้ กองก าลังทหารบดขยี้กองก าลัง คะฉิ่น ณ บริเวณชายแดนจีนและ
พม่า สิ่งนี้ท าให้เกิดความลังเลและกังขาอยู่ว่า “รัฐบาลทหารพม่าก าลังเล่นนโยบาย ๒ ทาง” ค าถามจึงอยู่
ที่ว่า “เข้มข้นอย่างไร” ตอนนี้มันช้าเกินไปแล้ว วงล้อประวัติศาสตร์หมุนไปเรียบร้อยแล้ว พม่าก าลังได้ท า
ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ การเป็นประธานอาเซียน ค.ศ. ๒๐๑๔ การเป็นเจ้าภาพซีเกมส์ และเปิดสนามบิน
เนปีดอ นานาชาติ
ที่น่าสนใจคือ “เมียวดี” มีการประกาศเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างเป็นทางการ และบริษัทอิตัล
ไทย ได้ลงทุนที่เมืองทวาย ๒.๕ แสนล้านบาท (เฟสแรก) ซึ่งใหญ่กว่านิคมอุตสาหกรรมมาบพุด ๑๐ เท่า
ซึ่งเป็นความต้องการของพม่าที่จะท าให้เป็นเกตเวย์ เพื่อที่จะเชื่อมตลาดขณะนี้ไปสู่จีน อาเซียนทั้งมวล
และอินเดีย จะมีประชาการ ๓,๐๐๐ กว่าล้านเกินครึ่งหนึ่งของประชากรโลก ทวายจะกลายเป็นฐานที่มั่น
ส าคัญของพม่า นี่เป็นเพียงตัวอย่างเดียว รัฐบาลทหารพม่าถือหุ้นร้อยละ ๒๕ ประเด็นคือว่า การ
เปลี่ยนแปลงที่เป็นบวกเหล่านี้ของเศรษฐกิจ ผมอยากจะเชื่อว่า “ไม่กองก าลังของฝ่ายต่อต้านต้องยอม
จ านน กองก าลังของรัฐบาลเองก็จะต้องท าอะไรที่เป็นบวกมากขึ้น” ดังนั้นจึงส่งผลต่อการที่ผู้ลี้ภัยจะข้าม
มาฝั่งไทยจะน้อยลง เศรษฐกิจโตไม่ได้ถ้ามีการสู้รบ เพราะความมุ่งมั่นในทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลง
ในเชิงบวกจึงส่งผลต่อการที่รัฐไทยจะเป็นผู้รับภาระดูแลผู้ลี้ภัยน้อยลง และเมื่อเป็นเช่นนั้นเหตุผลในการ
ภาคีจึงมากขึ้น
ในทางวิชาการมีพื้นที่ที่มีความส าคัญทั้งในทางเศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ๔ ประการ ได้แก่
๑) เมืองหลวง ๒) สนามบินนานาชาติ ๓) ท่าเรือน ้าลึกสากล และ ๔) เมืองชายแดน โดยสรุปไม่ว่าจะเป็น
หลักสิทธิมนุษยชน หลักกฎหมายระหว่างประเทศ หลักรัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐ และ
สุดท้ายความเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์ของภูมิภาคชายแดนไทย - พม่า ผมไม่เห็นเหตุผลที่เราจะไม่