Page 56 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 56

๔๗
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”




                         นายวีรวิชญ์  เธียรชัยนันท์  ผู้อ านวยการบริหารมูลนิธิไทยเพื่อคนมีปัญหาสิทธิและสถานะ

                  กล่าวว่า ข้อมูลที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน เชื่อว่าคนจะกลับปีหน้า (พ.ศ. ๒๕๕๖) ด้วยเหตุผลว่าเขาจะกลับไปเอง

                  คนเหล่านี้ถ้าดูแยกออกเป็น ๙ แคมป์  ใน ๗ แคมป์ จะเป็นของ KNU ส่วนอีก ๒ แคมป์  เป็นคนของ KNPP

                  ซึ่งคนเหล่านี้ ถ้า KNU  สั่งให้กลับเขาก็กลับ แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้น คือว่า คนที่จะกลับไป หรือกลับเข้ามา


                  อาจจะเป็นในรูปแบบใหม่ ซึ่งอย่างที่ ดร. เดชา อธิบายว่า “ธรรมชาติของคนชายแดนเข้าก็จะมีการ

                  เดินทางข้ามไปข้ามมา การที่จะปะทะกันในช่วงต่อไปก็อาจมีในเรื่องของผลประโยชน์” ทั้งหมดก็จะน ามา

                  สู่ว่า “แล้วประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศพื้นที่ชายแดนติดกันนี่จะท าอย่างไร”


                         ประเทศไทยตอนนี้ก าลังล้าหลังที่สุดในเรื่องการบริหารจัดการผู้ลี้ภัย ส่วนมาเลเซีย อินโดนีเซีย


                  และฟิลิปปินส์ เขาก้าวไปไกลมากในเรื่องของการบริหารจัดการ ผู้ลี้ภัยที่อยู่ในมาเลเซียนั้นมีสถานภาพ

                  ผู้ลี้ภัยของ UNHCR  แต่การลงทะเบียนจะมี Double  Status  (๒  สถานะ) คือ เป็นผู้ลี้ภัย และสามารถ

                  ท างานอย่างถูกกฎหมายได้ด้วย เพราะว่ามาเลเซียมองแล้วว่า “พม่าดีขึ้นแน่นอน” ปัญหาที่มาเลเซียและ

                  ไทยจะเกิดขึ้นต่อไป คือ แรงงานจะไหลจากประเทศเหล่านี้กลับไปพม่า ถ้านึกถึง Megaproject  ที่จะ

                  เกิดขึ้นที่ทวาย “มูลค่าขนาดนั้นต้องจ้างคนเยอะขนาดไหน” สถานการณ์จะน าไปสู่การไหลกลับของคน


                  มาเลเซียนี่เขาคิดไปไกล คือ พยายามที่จะดูว่า “จะท าอย่างไรที่จะดึงให้คนอยู่กับเขา” ในส่วนของไทยยัง

                  คิดอยู่ว่า “เราจะไม่ให้คนเข้ามา” เราก็ล้าหลังพอสมควร


                         อีกมิติหนึ่งก็คือ ผู้ลี้ภัยในอาเซียน ๑๐ ประเทศ ส่วนใหญ่เกินร้อยละ ๙๐ มาจากประเทศเมียนมาร์

                  ทุกประเทศคิดเหมือนกันหมดว่า “ถ้าสถานการณ์ในพม่าดีขึ้น” ประกอบกับ “เราจะเป็นอาเซียนใน


                  ค.ศ. ๒๐๑๕” ก็หมายความว่า เราเป็น “ชุมชนเดียวกัน” ฉะนั้นค าว่า “ผู้ลี้ภัย” อาจจะล้าสมัยไปแล้ว

                  ส าหรับชุมชนอาเซียน เพราะสิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือเราจะมีประชากรที่อาจจะมาจากประเทศต้นทาง หรือพม่า

                  ในประเทศสมาชิกของอาเซียน ซึ่งหมายความว่า “ประเทศอาเซียนนั้นจะดูแลคนที่มาจากประเทศเพื่อน

                  บ้านอย่างไร” ฉะนั้น ค.ศ. ๒๐๑๕ ไปแล้วคนที่จะเป็นผู้ลี้ภัยอาเซียน คือ คนที่มาจากนอกอาเซียนที่จะเข้า

                  มา เช่น ตะวันออกกลาง หรือที่อื่น ๆ



                         ในช่วงที่ผ่านมาได้มีการคุยหารือในประเด็นนี้ที่เมืองบาหลีถึงกระบวนการที่กระทรวงต่างประเทศ

                  อาจจะไปเกี่ยวข้องพอสมควร คือ “ท าอย่างไรถึงจะเกิดกลไกเดียวกันในอาเซียนที่จะคัดกรองคนเข้ามา”

                  ต่อไปเราจะไม่มาคุยกันแล้วว่า “คนในประเทศเมียนมาร์จะดูแลเขาอย่างไร ให้อยู่ที่ไหน” เพราะสุดท้ายพอ
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61