Page 62 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 62

๕๓
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”




                  ลักษณะเข้าข่ายของการค้า หรือมาท ามาหากิน หรือสมัครงาน เราก็ด าเนินการตามอ านาจทางกฎหมาย

                  แต่ถ้าหนีภัยจากการสู้รบ เราก็จะน าเข้าสู่กระบวนการของความมั่นคง ส่วนมากจะปฏิบัติตามนโยบาย


                  เป็นเรื่อง ๆ ไป ซึ่งก็มีความหลากหลาย


                  ผู้แทนกองก าลังผาเมือง


                         ผู้แทนกองก าลังผาเมืองกล่าวว่า ในมุมมองของกองก าลังผาเมือง คือ “ระหว่างรัฐบาลทหารพม่า

                  กับชนกลุ่มน้อยจะปรองดองจริงหรือไม่” ซึ่งก็ต้องถามตัวแทนชนกลุ่มน้อยด้วยว่า “ความประสงค์ไป

                  ปรองดองของชนกลุ่มน้อยต้องการอะไร ต้องการร่วมเป็นประเทศเมียนมาร์ และปกครองระบอบ


                  ประชาธิปไตย หรือว่าต้องการไปปรองดองกันแบ่งเป็นรัฐ / ประเทศต่าง ๆ เหมือนติมอร์ตะวันออกไหม”

                  แต่ของพม่าเข้าใจว่าแนวทาง คือ “ต้องการรวมหลาย ๆ กลุ่มกองก าลังมาเป็นประเทศเดียวกัน และ

                  ปกครองโดยรัฐบาล แต่ให้ประชาธิปไตย สิทธิและเสรีภาพเพิ่มมากขึ้น คือ ชนกลุ่มน้อยไม่ต้องการ

                  แบ่งแยกออกไป ก็สามารถที่จะปรองดองกันได้ในอนาคต ซึ่งต้องมองจุดประสงค์ของชนกลุ่มน้อยที่เขา

                  ต่อสู้กันมา และของรัฐบาลทหารพม่าด้วย



                         ส าหรับท่าทีของแต่ละประเทศที่เข้าไปในพม่า หรือการปฏิสัมพันธ์กับทางยุโรป สหรัฐอเมริกา

                  มองว่าทุกอย่างเป็นผลประโยชน์ของชาติเกือบทั้งสิ้น บางครั้งสิทธิเสรีภาพ หรือสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ที่เข้า

                  ไปสุดท้ายคือ เรื่องของผลประโยชน์ชาติทั้งสิ้น ช่วงนี้พม่าเนื้อหอม เพราะว่าจีนก าลังรุกเข้าไปในพม่ามาก

                  ขึ้นจากการที่ได้สัมปทานต่าง ๆ ในพม่า ส าหรับเรื่องผู้หลบหนีภัยจากการสู้รบ กองก าลังป้ องกันชายแดน


                  จะท าตามนโยบายของสภาความมั่นคงแห่งชาติที่ก าหนดบทบาทว่าให้เราท าอะไรบ้าง ขั้นแรก

                  (เตรียมการ) วิเคราะห์ว่าในพื้นที่มีการสู้รบตรงไหน เมื่อวิเคราะห์แล้วว่ามีพื้นที่การสู้รบก็จะมีประชุม

                  วางแผนร่วมกับจังหวัดต่าง ๆ ในการที่จะก าหนดพื้นที่พักพิงชั่วคราวว่า   เมื่อมีการสู้รบเกิดขึ้นแล้ว เราจะ

                  พาเขาไปพื้นที่พักพิงที่ไหน อย่างไร หรือมีการด าเนินการอย่างไร



                         เมื่อมีผู้หลบหนีภัยจากการสู้รบหลบหนีเข้ามา ก็จะมีการแบ่งแยกระหว่างผู้หลบหนีกับกองก าลังที่

                  ติดอาวุธ หรือว่ากองก าลังที่แฝงตัวเข้ามา และเข้ามาที่ศูนย์พักพิง แนวทาง/นโยบาย คือ ถ้าเหตุการณ์ใน

                  ประเทศเพื่อนบ้านมีความสงบสุขก็จะประสานงานให้เขาเดินทางกลับ โดยจะแจ้งให้องค์กรต่าง ๆ เข้าไป

                  ตรวจสอบด้วย และมีการบันทึกไว้เพื่อป้ องกันการถูกโจมตี แต่ละพื้นที่ก็พยายามท าให้ดีที่สุดในขอบเขตที่
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67